การประยุกต์ภูมิสารสนเทศสำหรับสถานการณ์การกัดเซาะของชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีและพิจารณาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตามฤดูกาล โดยหาอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 ใน 2 ช่วงฤดู คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาพบว่าชายฝั่งทะเลจังหวัดเพชรบุรีถู...
محفوظ في:
المؤلفون الرئيسيون: | , , , |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | مقال |
اللغة: | Thai |
منشور في: |
2015
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48690 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
الملخص: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีและพิจารณาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตามฤดูกาล โดยหาอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 ใน 2 ช่วงฤดู คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาพบว่าชายฝั่งทะเลจังหวัดเพชรบุรีถูกกัดเซาะระยะทางรวม 11,638 เมตร ระยะทางแนวชายฝั่งที่มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 4 เมตรต่อปี รวมระยะทาง 3,700 เมตร แนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะมากที่สุดอยู่ในอำเภอบ้านแหลม ที่ตำบลปากทะเลต่อเนื่องถึงตำบลบางแก้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีแนวป้องกัน เช่น ป่าชายเลนหรือโครงสร้างวิศวกรรม ประกอบกับเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ทางตอนบนเหนือแนวกำแพงหินทิ้งที่ตำบลบางแก้ว ส่วนชายฝั่งที่มีป่าชายเลน แนวชายฝั่งจะคงสภาพหรือมีการเพิ่มขึ้น พบบริเวณพื้นที่ศึกษาตอนบนที่เป็นหาดโคลน ทั้งนี้ช่วงฤดูมรสุมที่แตกต่างกัน ไม่ได้ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งมีความแตกต่างกัน แต่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตะกอนทรายแนวชายหาดของพื้นที่ศึกษาตอนล่างอย่างชัดเจน โดยพบการเพิ่มขึ้นของตะกอนทรายบริเวณชายหาดในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม-กันยายน) และลดลงในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) พบการเพิ่มขึ้นของตะกอนทรายชายหาดบริเวณปากคลองที่ขนานชายฝั่ง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของตะกอนทรายด้านหลังเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งบริเวณหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง และหาดหน้าพระราชวังมฤคทายวัน อำเภอชะอำ แต่จะมีลักษณะเว้าแหว่งตามระยะห่างของเขื่อนกันคลื่น |
---|