Bioactive compounds from endophytic fungi isolated from Azima sarmentosa Benth. & Hook. and Xylocarpus granatum Koenig

จากการนำส่วนสกัดเอธิลแอซิเทตของราเอนโดไฟต์ Rhytidhysteron sp. จากหนามพุงดอที่เพาะเลี้ยงใน Malt extract broth มาทำการแยกให้บริสุทธิ์ พบสารอนุพันธ์แนฟธาลีนใหม่ 1 ชนิด คือ AS21B-4 (4) และสารที่มีการรายงานมาก่อนอีก 4 ชนิด คือ MK3018 (1), palmarumycin CR1 (2), 4-O-methyl-CJ12372 (3) และ 4-O-methyl-CJ1237...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلف الرئيسي: Supichar Chokpaiboon
مؤلفون آخرون: Khanitha Pudhom
التنسيق: Theses and Dissertations
اللغة:English
منشور في: Chulalongkorn University 2009
الموضوعات:
الوصول للمادة أونلاين:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38233
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
المؤسسة: Chulalongkorn University
اللغة: English
الوصف
الملخص:จากการนำส่วนสกัดเอธิลแอซิเทตของราเอนโดไฟต์ Rhytidhysteron sp. จากหนามพุงดอที่เพาะเลี้ยงใน Malt extract broth มาทำการแยกให้บริสุทธิ์ พบสารอนุพันธ์แนฟธาลีนใหม่ 1 ชนิด คือ AS21B-4 (4) และสารที่มีการรายงานมาก่อนอีก 4 ชนิด คือ MK3018 (1), palmarumycin CR1 (2), 4-O-methyl-CJ12372 (3) และ 4-O-methyl-CJ12371 (5) นอกจากนี้เมื่อนำราเอนโดไฟต์ Basidiomycetous จากตะบูนขาวมาเพาะเลี้ยงใน Corn steep broth medium และนำส่วนสกัดเอธิลแอซิเททมาทำการแยกให้บริสุทธิ์ พบว่า ได้สารเซสควิเทอร์พีนชนิดใหม่อีก 4 ชนิด คือ merulin A (6), merulin B (7), merulin C (8) และ merulin D (9) การพิสูจน์ทราบโครงสร้างทางเคมีของสารที่แยกได้ทำโดยอาศัยวิธีการทางสเปกโทรสโกปี เมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง และฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย พบว่า สาร (8) และ (9) แสดงฤทธิ์ยับยั้งมาลาเรียดีมากโดยมีค่า IC₅₀ = 0.39, และ 1.35 µM ตามลำดับ ขณะที่สาร (1), (3), (4), (5) และ (6) มีฤทธิ์ปานกลาง ส่วนสาร (2) ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และพบว่า สารอนุพันธ์ของแนฟธาลีนทั้ง 5 ชนิด (1-5) แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งทุกชนิดที่ทดสอบแบบไม่จำเพาะเจาะจง ส่วนสารเซสควิเทอร์พีน (6), (8) และ (9) มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งทุกชนิดที่ทดสอบยกเว้นเซลล์มะเร็งปอด (CHAGO) ขณะที่สาร (7) แสดงฤทธิ์ปานกลางอย่างจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งตับ นอกจากนี้ยังพบว่าสารทุกชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกันไปด้วยค่า MIC ที่ต่างกัน