Limonoids from the seeds of Xylocarpus granatum and Xylocarpus moluccensis, Suratthani province

งานวิจัยนี้ได้ทำการแยกและพิสูจน์ทราบโครงสร้างของลิโมนอยด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดตะบูนขาว Xylocarpus granatum Koeing. และตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis Roem. ที่เก็บจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อนำส่วนสกัดเอธิลอะซิเตทของตะบูนขาวมาทำการแยกให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคทางโครมาโทรกราฟี ได้สารที่มีการรายงานมา...

全面介紹

Saved in:
書目詳細資料
主要作者: Chutima Jittaniyom
其他作者: Khanitha Pudhom
格式: Theses and Dissertations
語言:English
出版: Chulalongkorn University 2011
主題:
在線閱讀:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37814
標簽: 添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
實物特徵
總結:งานวิจัยนี้ได้ทำการแยกและพิสูจน์ทราบโครงสร้างของลิโมนอยด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดตะบูนขาว Xylocarpus granatum Koeing. และตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis Roem. ที่เก็บจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อนำส่วนสกัดเอธิลอะซิเตทของตะบูนขาวมาทำการแยกให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคทางโครมาโทรกราฟี ได้สารที่มีการรายงานมาก่อน 10 ชนิดคือ xyloccensin K (1), 6-acetoxycedrodorin (2), andirobin (3), methylangolensate (4), methyl-6-β-hydroxy angolensate (5), gedunin (6), 7-deacetylgedunin (7), kihadalactone A (8), toonaciliatavarin E (9) และ protoxylocarpin G (10) และเมื่อนำส่วนสกัดเอธิลอะซิเตทของตะบูนดำมาแยกด้วยวิธีการเดียวกัน พบว่าได้ลิโมนอยด์ประเภท mexicanolide ชนิดใหม่ 1 ชนิดซึ่งให้ชื่อว่า thaimoluccensin D (14) และนอกจากสาร 3, 4, 6 และ 7 ที่พบในเมล็ดตะบูนขาวแล้ว ยังพบสารที่มีการรายงานมาก่อนอีก 3 ชนิด ได้แก่ protoxylocarpin H (11), moluccensin I (12) 2-hydrofissinolide (13) และ hispidone (15) การพิสูจน์ทราบโครงสร้างทางเคมีของสารที่แยกได้ทำโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทางสเปกโทรสโกปีและในกรณีของสารที่มีการรายงานมาก่อนจะทำการการเปรียบเทียบข้อมูลทางสเปกโทรสโกปีกับข้อมูลในวารสารตีพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ ในงานวิจัยนี้ยังได้รายงานข้อมูล NMR ที่สมบูรณ์และโครงสร้างผลึกของ andirobin (3) ที่ได้จากพืชทั้งสองชนิดเป็นครั้งแรก จากนั้นนำสารที่แยกได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธีการตรวจวัดการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ใน macrophage RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้น พบว่ามีพเพียง 7-deacetylgedunin (7) ซึ่งเป็นลิโมนอยด์ประเภท gedunin ให้ฤทธิ์การยับยั้งที่ดีที่สุดด้วยค่า IC₅₀ 4.75 µM