ANALYSIS OF ANCIENT STORM DEPOSITS IN CHANGWAT PRACHUAP KHIRI KHAN

การวิเคราะห์การสะสมตัวของพายุโบราณในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทางด้านอ่าวไทย มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางตะกอนวิทยา และหาอายุของการสะสมตัวของพายุที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตะกอนพายุโบราณที่เกิดจากพายุรุนแรงสะสมตัวอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำด้านหลังแนวสันทรายซึ่งอยู่ห่างเป็นระยะทาง 35...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Stapana Kongsen
Other Authors: Montri Choowong
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2016
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:36928
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Description
Summary:การวิเคราะห์การสะสมตัวของพายุโบราณในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทางด้านอ่าวไทย มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางตะกอนวิทยา และหาอายุของการสะสมตัวของพายุที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตะกอนพายุโบราณที่เกิดจากพายุรุนแรงสะสมตัวอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำด้านหลังแนวสันทรายซึ่งอยู่ห่างเป็นระยะทาง 350 เมตรจากชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน การสะสมตัวของชั้นตะกอนพายุโบราณมีความหนาตั้งแต่ 0.5-50 เซนติเมตร โดยจำนวนการสะสมตัวของชั้นทรายในแต่ละชั้นน่าจะบ่งบอกถึงจำนวนการเกิดเหตุการณ์ของพายุรุนแรง ในการศึกษานี้พบชั้นทรายของพายุโบราณสะสมตัวมากถึง 27 ชั้น ขนาดทรายของตะกอนพายุโบราณมีขนาดตั้งแต่ขนาดทรายหยาบไปถึงทรายละเอียดมาก โครงสร้างทางตะกอนประกอบด้วย รอยสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่องชัดเจนทั้งด้านบนและด้านล่างของชั้นทราย การเรียงตัวของขนาดเม็ดตะกอนในแนวดิ่งแบบปกติจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก และแบบผกผันจากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ พบมีชั้นทรายบางซ้อนกันในแนวขนาน และเศษตะกอนโคลนจากชั้นดินเดิมถูกกัดเซาะนำพาขึ้นมาสะสมตัวปนอยู่กับตะกอนในชั้นทราย ความหนาของชั้นทรายมีลักษณะบางลงและขนาดทรายมีลักษณะละเอียดขึ้นในทิศทางจากชายฝั่งเข้าสู่แผ่นดิน นอกจากนี้ในชั้นตะกอนพายุโบราณยังประกอบไปด้วยซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็ก คือ ฟอแรมมินิเฟอราและออสตราคอด และซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่พวกหอยฝาเดียวและหอยสองฝาจำนวนมาก องค์ประกอบของพายุโบราณประกอบด้วยแร่ควอตซ์ แร่หนัก และเศษเปลือกหอย ผลการหาอายุด้วยวิธีกระตุ้นด้วยแสงจากตะกอนของสันทราย และการเทียบเคียงผลอายุกัมมันตรังสีโดยวิธีเอเอ็มเอสจากเปลือกไม้ในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ศึกษาพบว่า มีชั้นตะกอนพายุโบราณ 4 ชั้นที่มีอายุการสะสมตัวอยู่ในช่วงระหว่างสมัยโฮโลซีนตอนกลางถึงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย และในช่วงอายุมากกว่าสมัยโฮโลซีนตอนกลางมีการสะสมตัวของพายุโบราณจำนวน 23 ชั้น การผันแปรของจำนวนการสะสมตัวของพายุในอดีตระหว่างช่วงอายุสองช่วงของพื้นที่ศึกษานี้มีปัจจัยที่ควบคุมคือ ศักยภาพของพื้นที่ในการสะสมตัว ลักษณะของพายุ ความรุนแรงของพายุ ความเร็วลมของพายุ ความสูงของคลื่นพายุซัดฝั่ง และสภาพภูมิอากาศในอดีต