ฟ้อนเล็บ : คณะช่างฟ้อนอาวุโสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

วิทยานิพนธ์ฉบันนี้มุ่งศึกษาประวัติ แนวคิดและศึกษาการฟ้อนเล็บของช่างฟ้อนอาวุโส วัดพระสิงห์วรมหาวิหารจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.2503 – 2550 ระเบียบวิธีวิจัยใช้การศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ช่างฟ้อนและผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกตการณ์แสดงจริง และการแสดงในวีดีทัศน์ ตลอดจนการฝึกฟ้อนเล็บจากช่างฟ้อนอาวุโส การวิจัยพบ...

全面介紹

Saved in:
書目詳細資料
主要作者: สรายุทธ อ่องแสงคุณ
其他作者: อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
格式: Theses and Dissertations
語言:Thai
出版: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2014
主題:
在線閱讀:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40997
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.727
標簽: 添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
機構: Chulalongkorn University
語言: Thai
實物特徵
總結:วิทยานิพนธ์ฉบันนี้มุ่งศึกษาประวัติ แนวคิดและศึกษาการฟ้อนเล็บของช่างฟ้อนอาวุโส วัดพระสิงห์วรมหาวิหารจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.2503 – 2550 ระเบียบวิธีวิจัยใช้การศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ช่างฟ้อนและผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกตการณ์แสดงจริง และการแสดงในวีดีทัศน์ ตลอดจนการฝึกฟ้อนเล็บจากช่างฟ้อนอาวุโส การวิจัยพบว่า การฟ้อนเป็นส่วนสำคัญในงานประเพณีทั้งหลายของเชียงใหม่ ปัจจุบันนี้ราชการได้ใช้ฟ้อนสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งมีฟ้อนเล็บเป็นชุดที่นิยมมากที่สุด ฟ้อนเล็บเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2460 จำแนกกลุ่มช่างฟ้อนได้ 4 กลุ่มคือ กลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ ที่ฟ้อนในงานสำคัญ เช่น ฟ้อนทูลพระขวัญรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเชียงใหม่ กลุ่มนักเรียนหญิงซึ่งฟ้อนในงานกิจกรรมของโรงเรียน กลุ่มอาชีพรับจ้างฟ้อน ให้ความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยวในงานรื่นเริงทางธุรกิจ และกลุ่มช่างฟ้อน-หัววัด ที่ประจำอยู่ตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ คณะช่างฟ้อนวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ มีช่างฟ้อนอยู่ 4 คน แสดงเป็นครั้งคราวในงานวัดและงานทั่วไป เครื่องแต่งกายเป็นแบบพื้นเมืองเชียงใหม่ สวมเล็บยาวทำด้วยทองเหลืองทุกเล็บยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ วงดนตรีที่ใช้ฟ้อนเป็นวงเฉพาะเรียกว่า วงตึ่งโนง รูปแบบการฟ้อนเป็นการผสมผสานแบบคุ้มหลวงเชียงใหม่ และแบบพื้นเมือง ท่าฟ้อนมี 15 ท่า มีการแปรแถว 3 กระบวนท่า ใช้จังหวะนับ 5 จังหวะ รูปแบบการฟ้อนของคณะช่างฟ้อนอาวุโสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังไม่มีผู้สืบทอดจึงควรอย่างยิ่งที่จะทำการศึกษา สืบทอดไว้เป็นมรดกอันทรงคุณค่าสืบไป