An analytic network process for university selection in engineering discipline
ประยุกต์ใช้กระบวนการข่ายงานเชิงวิเคราะห์ (Analytic Network Process: ANP) มาใช้ไนการวิเคราะห์ปัญหาการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาระบบการประเมินมหาวิทยาลัยในมุมมองของนักศึกษา เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้เหมาะสมกับเงื่อนไขและวัตถ...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2004
|
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:49594 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
المؤسسة: | Chulalongkorn University |
اللغة: | English |
الملخص: | ประยุกต์ใช้กระบวนการข่ายงานเชิงวิเคราะห์ (Analytic Network Process: ANP) มาใช้ไนการวิเคราะห์ปัญหาการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาระบบการประเมินมหาวิทยาลัยในมุมมองของนักศึกษา เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้เหมาะสมกับเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ที่ต้องการของแต่ละบุคคล กรอบในการวิจัยเริ่มจาก การคัดเลือกเกณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และออกแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นักศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาที่กำลังตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าศึกษา ผู้ปกครอง อาจารย์แนะแนวโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย จากนั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา เช่นอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบหลักสูตร อาจารย์ทางด้านศึกษาศาสตร์ จะเป็นผู้พิจารณาความหมายของเกณฑ์ จัดกลุ่ม และหาความสัมพันธ์และความมีอิทธิพลระหว่างคู่ของเกณฑ์ย่อย จากนั้นนำไปพัฒนาตัวแบบการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และประเมินผล ผลจากการวิเคราะห์และประเมินผล ทำให้ทราบว่ากลุ่มเกณฑ์หลักที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้สมัครสอบโควตา เมื่อพิจารณาภายใต้เกณฑ์ควบคุม ผลประโยชน์ ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยง ประกอบด้วย ผลประโยชน์ทางปัญญาความคิด ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐศาสตร์ และความเสี่ยงทางด้านเศรษฐศาสตร์ เมื่อวิเคราะห์เชิงลึกของกลุ่มเกณฑ์ผลประโยชน์ทางปัญญาความคิด พบว่าเกณฑ์ย่อยมูลค่าเพิ่มค่าใช้จ่ายห้องสมุด และจำนวนคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตให้ใช้งานได้ มีความสำคัญสูงสุดสามอันดับแรกเรียงจากมากไปหาน้อย สำหรับกลุ่มเกณฑ์หลักที่มีความสำคัญต่อผู้สมัครสอบเอ็นทรานซ์ เมื่อพิจารณาภายใต้เกณฑ์ควบคุมผลประโยชน์ ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยง ประกอบด้วย ผลประโยชน์ทางสังคม ค่าใช้จ่ายทางสังคม และความเสี่ยงทางสังคม เมื่อวิเคราะห์ต่อเนื่องในเชิงลึกในกลุ่มเกณฑ์ผลประโยชน์ทางด้านสังคม พบว่าเกณฑ์ย่อย คะแนนการรับนักศึกษาเฉลี่ยโดยรวม สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์และจำนวนคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตให้ใช้งาน ได้มีความสำคัญสูงสุดสามอันดับแรกเรียงจากมากไปหาน้อย และจากผลการวิเคราะห์ความไวโดยรวมในระดับกลุ่มเกณฑ์ของระบบโควตาพบว่า กลุ่มเกณฑ์ผลประโยชน์ทางปัญญาความคิด และค่าใช้จ่ายทางเศรษฐศาสตร์ มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อทางเลือกสูงที่สุด ในขณะที่ของระบบเอ็นทรานซ์พบว่า กลุ่มเกณฑ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ และค่าใช้จ่ายทางสังคมมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อทางเลือกสูงที่สุด นอกจากเทคนิค ANP จะได้ผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำแล้วยังช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ความไว ซึ่งทำให้เห็นภาพในเชิงลึกมากกว่าที่จะได้ผลลัพธ์ที่ออกมา และในงานวิจัยในครั้งนี้ได้สาธิตให้เห็นว่า การใช้ AHP อย่างเดียวไม่น่าเพียงพอ เพราะรูปแบบปัญหาได้มีการพิจารณาการคาบเกี่ยวระหว่างเกณฑ์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ANP จึงเป็นเทคนิคที่น่าจะได้รับการพัฒนาต่อไป |
---|