Chiang Mai city bus route selection and policy development for co-investment between government and private investors

ปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหารุนแรงของจังหวัดเชียงใหม่คือปัญหาด้านการจราจร สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้คือ คุณภาพของการบริการของการขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ความไม่แน่นอนและการบริการที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้คนหันไปพึ่งพาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น รถโดยสารประจำทางถูกเสนอให้เป็นทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากค...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلف الرئيسي: Thanthada Kamchomnan
مؤلفون آخرون: Suthas Ratanakuakangwan
التنسيق: Theses and Dissertations
اللغة:English
منشور في: Chulalongkorn University 2005
الموضوعات:
الوصول للمادة أونلاين:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:49566
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
الوصف
الملخص:ปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหารุนแรงของจังหวัดเชียงใหม่คือปัญหาด้านการจราจร สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้คือ คุณภาพของการบริการของการขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ความไม่แน่นอนและการบริการที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้คนหันไปพึ่งพาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น รถโดยสารประจำทางถูกเสนอให้เป็นทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากความแน่นอนของการให้บริการอย่างไรก็ตาม ในอดีตนั้น เชียงใหม่เคยมีบริการของรถโดยสารประจำทาง แต่ประสบการขาดทุนจนต้องถูกระงับการบริการไปในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เริ่มให้บริการรถสาธารณะประจำทางอีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า CMB โดยให้บริการในสองเส้นทาง ซึ่งอ้างอิงมาจากแบบของเส้นทางออกแบบโดยกรมการขนส่งทางบกเมื่อยี่สิบปีก่อน ค่าโดยสารของ CMB อยู่ที่สิบบาทตลอดสายสำหรับผู้ใหญ่และห้าบาทตลอดสาย สำหรับเด็กและนักเรียนนักศึกษา เวลาการออกรถในแต่ละรอบเท่ากับสิบห้านาที วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอ การให้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางโดยการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางในการให้บริการถูกเลือกจากเส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารมากที่สุดโดยการใช้ Sequential model ในการประมาณจำนวนผู้โดยสาร จากนั้นข้อกำหนดในการลงทุนร่วมกันจะถูกกำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงการอยู่รอดของโครงการและการรักษาให้คงเป็นการให้บริการแก่สังคม ในขั้นสุดท้ายการวิเคราะห์ทางด้านการเงินจะถูกนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อประเมินผลและประเมินความสามารถในการดึงดูดนักลงทุนของโครงการโครงการการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ในการให้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางที่ได้นำเสนอนี้ สามารถแก้ไขสี่สาเหตุหลักที่ทำให้การให้บริการในอดีตประสบภาวะขาดทุนจนต้องยกเลิกการให้บริการ โดยโครงการที่นำเสนอเป็นโครงการที่เน้นด้านผลกำไร แต่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลเพื่อรักษาความเป็นการบริการสังคม การเน้นด้านผลกำไรจะแก้ไขปัญหาในด้านเงินงบประมาณและยังผลักดันให้การบริการเน้นความสำคัญไปที่ผู้ใช้รถสาธารณะอีกด้วย การพิจารณาเลือกเส้นทางอย่างระมัดระวังจะแก้ปัญหาด้านจำนวนผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ และยังแก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ในการให้บริการ ตารางเวลาในการให้บริการนั้นมาจากการคำนวณโดยเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารให้มากที่สุด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในด้านของคุณภาพการให้บริการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ควรใช้เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุนร่วมกันในโครงการการให้บริการรถขนส่งมวลชนสาธารณะประจำทางในอนาคตต่อไป