Evaluation of in-situ gas lift for monobore oil wells with commingled production in Pattani Basin
โดยทั่วไปแล้ว แหล่งกักเก็บน้ำมันในแอ่งปัตตานีในอ่าวไทย มักจะมีลักษณะเป็นชั้นย่อยๆที่ถูกแบ่งแยกโดยรอยเลื่อนของชั้นหิน แต่ละชั้นหินกักเก็บน้ำมันมักจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับชั้นกักเก็บน้ำมันแบบอื่นๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว ชั้นหินกักเก็บเหล่านี้มักจะซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ซึ่งทำให้ทางออกในการพัฒนาแหล่งกักเก็บน...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2010
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48898 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
الملخص: | โดยทั่วไปแล้ว แหล่งกักเก็บน้ำมันในแอ่งปัตตานีในอ่าวไทย มักจะมีลักษณะเป็นชั้นย่อยๆที่ถูกแบ่งแยกโดยรอยเลื่อนของชั้นหิน แต่ละชั้นหินกักเก็บน้ำมันมักจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับชั้นกักเก็บน้ำมันแบบอื่นๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว ชั้นหินกักเก็บเหล่านี้มักจะซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ซึ่งทำให้ทางออกในการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำมันที่เล็กดังกล่าวในเชิงพาณิชย์นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยสาเหตุนี้เองหลุมผลิตขนาดเล็กแบบผลิตร่วมกันจึงกลายเป็นวิธีส่วนใหญ่ที่ถูกเลือกใช้ในการขุดเจาะและผลิต หลุมผลิตขนาดเล็กสามารถขุดเจาะผ่านแหล่งกักเก็บหลายๆชั้นได้ โดยปกติแล้วแหล่งกักเก็บทั้งหมดในหลุมผลิตนี้จะถูกผลิตพร้อมๆกัน เป็นที่น่าสังเกตุว่าแหล่งกักเก็บขนาดเล็กเหล่านี้จะมีระยะเวลาการผลิตด้วยการไหลโดยธรรมชาติที่ค่อนข้างสั้น ดังนั้นในบางกรณีหลุมผลิตขนาดเล็กเหล่านี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยผลิตโดยใช้แก๊ส แต่เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการดำเนินการที่สูงจึงทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตเชิงพาณิชย์ในบางกรณี เพราะสาเหตุนี้เองหลุมผลิตขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยที่ผลิตโดยไม่การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยผลิต เพราะฉะนั้นหลุมผลิตขนาดเล็กที่ในแหล่งกักเก็บมีชั้นกักเก็บก๊าซจะมีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการผลิตของหลุม โดยถ้าได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม แก๊สจากชั้นกักเก็บในหลุมจะช่วยเพิ่มอัตราส่วนแก๊สต่อของเหลวให้เหมาะสมในการช่วยเพิ่มปริมาณการผลิต และเพิ่มปริมาณสำรอง วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาตัวแปรบางตัวของแหล่งกักเก็บที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณสำรองของน้ำมันโดยใช้เทคนิคของการใช้แก๊สจากชั้นกักเก็บในหลุมเพื่อช่วยผลิตน้ำมันสำหรับหลุมผลิตขนาดเล็กที่ผลิตจากชั้นกักเก็บร่วมกันหลายชั้นในแอ่งปัตตานี เทียบกับการผลิตโดยใช้อุปกรณ์ช่วยผลิตที่ใช้แก๊ส จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า หลุมผลิตน้ำมันที่ใช้แก๊สจากแหล่งกักเก็บในหลุมจะสามารถผลิตน้ำมันได้โดยมีค่าระดับการได้คืนของปริมาณสำรองที่ผลิตได้นั้นใกล้เคียงและในบางกรณีมากกว่าหลุมผลิตน้ำมันที่ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยผลิตที่ใช้แก๊ส นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าระดับการได้คืนของปริมาณสำรองจากการใช้แก๊สจากชั้นกักเก็บในหลุมเพื่อช่วยผลิตน้ำมันสามารถจะขึ้นกับความลึกของชั้นกักเก็บ และหรือ ความหนาของชั้นกักเก็บ หรือปริมาณสำรองแก๊สที่มากขึ้น หรือตารางการยิงเจาะหลังจากที่มีการผลิตไปแล้ว แต่ปริมาณสำรองอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นเสมอไปถ้าค่าการซึมผ่านของชั้นกักเก็บแก๊สเพิ่มขึ้น |
---|