Perforation strategy for multilayered gas reservoirs using integrated production modeling

แหล่งไฮโดรคาร์บอนใต้พื้นผิวมีปริมาณที่จำกัด จึงมีความสำคัญมากที่ต้องผลิตออกมาในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เสมอ ในหลายต่อหลายครั้ง กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตที่ได้กระทำไปนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทำการผลิต และยังไม่เคยมีโอกาสได้ทำการตรวจสอบถึงกลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตอื่นๆ ซึ่งอาจให้ผล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Lin Naung
Other Authors: Suwat Athichanagorn
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2010
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48897
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:แหล่งไฮโดรคาร์บอนใต้พื้นผิวมีปริมาณที่จำกัด จึงมีความสำคัญมากที่ต้องผลิตออกมาในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เสมอ ในหลายต่อหลายครั้ง กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตที่ได้กระทำไปนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทำการผลิต และยังไม่เคยมีโอกาสได้ทำการตรวจสอบถึงกลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตอื่นๆ ซึ่งอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ในงานวิจัยนี้เราเริ่มด้วยการสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรมอินทิเกรทโพรดักชั่นโมเดลลิ่ง (ไอพีเอ็ม) กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตต่างๆ ถูกนำมาใช้กับหลุมผลิต เพื่อทำการวิเคราะห์หากลยุทธ์ที่จะทำให้ได้ผลผลิตมากที่สุด จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อสืบหาผลกระทบของแรงขับเคลื่อนแบบต่างๆ และกลยุทธ์การยิงท่อกรุต่ออัตราการผลิตสำหรับแหล่งกักเก็บก๊าซหลายชั้น แหล่งกับเก็บที่ใช้สำหรับงานวิจัยนี้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติซึ่งอยู่ในอ่าวไทย ในงานวิจัยชิ้นนี้มีกรณีศึกษาด้วยกัน 3 กรณี ได้แก่ (1) แหล่งกักเก็บทั้งหมดถูกผลิตโดยความดันของก๊าซในแหล่งกักเก็บ (2) แหล่งกักเก็บก๊าซทั้งหมดมีการเชื่อมต่อกับแหล่งกับเก็บน้ำซึ่งถูกผลิตโดยมีน้ำเป็นกลไกในการขับเคลื่อน และ (3) มีแหล่งกักเก็บ 2 ชั้นเชื่อมต่อกับแหล่งกักเก็บน้ำและแหล่งกักเก็บ 2 ชั้นถูกผลิตด้วยความดันของก๊าซในแหล่งกักเก็บ จากงานวิจัยชิ้นนี้ ปริมาณก๊าซสะสมที่ผลิตได้สำหรับกลยุทธ์แบบต่างๆมีความแตกต่างไม่มากในกรณีที่แหล่งกักเก็บทั้งหมดถูกผลิตโดยความดันก๊าซในแหล่งกักเก็บ อย่างไรก็ตาม สำหรับแหล่งกักเก็บที่มีน้ำเป็นกลไกขับเคลื่อนและแหล่งกักเก็บแบบผสมผสาน การเปิดชั้นแหล่งกักเก็บจากล่างขึ้นบนร่วมกับการปิดชั้นที่ถูกผลิตไปจนหมดและการปิดชั้นที่ผลิตน้ำช่วยทำให้ปริมาณก๊าซที่สามารถผลิตขึ้นมาได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น