Evaluation of in-situ gas lift using numerical reservoir modeling
แหล่งกักเก็บขนาดเล็กโดยเฉพาะแหล่งกับเก็บน้ำมันที่อยู่ห่างไกลและนอกชายฝั่งเป็นความท้าทายในการพัฒนาแหล่งผลิตเนื่องจากมีข้อจำกัดในเชิงเศรษฐศาสตร์ ในกรณีนี้เทคนิคการใช้ก๊าซจากแหล่งกักเก็บเพื่อช่วยผลิตน้ำมันสามารถนำมาใช้ได้โดยวิธีนี้จะใช้ผลิตน้ำมันได้ก็ต่อเมื่อมีก๊าซแรงดันสูงจากภายในหลุม วิธีการนี้ไม่จำเ...
Saved in:
主要作者: | |
---|---|
其他作者: | |
格式: | Theses and Dissertations |
語言: | English |
出版: |
Chulalongkorn University
2012
|
主題: | |
在線閱讀: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48628 |
標簽: |
添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
|
總結: | แหล่งกักเก็บขนาดเล็กโดยเฉพาะแหล่งกับเก็บน้ำมันที่อยู่ห่างไกลและนอกชายฝั่งเป็นความท้าทายในการพัฒนาแหล่งผลิตเนื่องจากมีข้อจำกัดในเชิงเศรษฐศาสตร์ ในกรณีนี้เทคนิคการใช้ก๊าซจากแหล่งกักเก็บเพื่อช่วยผลิตน้ำมันสามารถนำมาใช้ได้โดยวิธีนี้จะใช้ผลิตน้ำมันได้ก็ต่อเมื่อมีก๊าซแรงดันสูงจากภายในหลุม วิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องสร้างแนวท่อสำหรับก๊าซและเครื่องอัดอากาศรวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นการลดการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือศึกษาและหาตัวแปรที่มีผลต่อการใช้ก๊าซจากแหล่งกักเก็บเพื่อช่วยผลิตน้ำมัน การศึกษานี้เริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลองของแหล่งกักเก็บและใช้ตารางความสามารถในการไหลในแนวตั้ง แบบจำลองเริ่มต้นด้วยการจำลองการไหลแบบธรรมชาติ แล้วตามด้วยการหาผลและประสิทธิภาพของการยกน้ำมันโดยก๊าซโดยปรับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหลายๆ ตัวแปรต่อไปนี้ (1) ความสามารถในการซึมผ่านของชั้นก๊าซ (2) ระยะการยิงทะลุท่อกรุในชั้นก๊าซ (3) ความลึกของชั้นก๊าซ (4) ความหนาของชั้นก๊าซ และ (5) แหล่งน้ำช่วยรักษาแรงดันในชั้นน้ำมัน จากผลการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ของแหล่งกักเก็บ พบว่า ค่าความสามารถในการซึมผ่านที่ต่ำจะช่วยในการเพิ่มในการผลิตน้ำมันได้ดีขึ้น ในขณะที่กรณีของชั้นก๊าซที่มีความสามารถในการซึมผ่านสูงและมีความหนา การปรับลดระยะการยิงทะลุท่อกรุของชั้นก๊าซสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตน้ำมันได้ สำหรับกรณีผลกระทบความลึกของชั้นก๊าซ พบว่าเฉพาะกรณีที่มีความสามารถในการซึมผ่านสูง ที่ชั้นก๊าซตื้นๆ จะให้ค่าความสามารถในการผลิตน้ำมันต่ำสุด อย่างไรก็ตามในกรณีของการปรับเปลี่ยนความหนาของชั้นก๊าซ แทบจะไม่มีผลอย่างนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันเลยสำหรับในกรณีที่มีแหล่งน้ำใต้ดินจะทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำมันลดลงเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีแหล่งน้ำใต้ดิน |
---|