EVALUATION AND OPTIMIZATION OF SECOND CONTACT WATER DISPLACEMENT PROCESS (SCWD)

การฉีดแก๊สในแหล่งกักเก็บลาดเอียงเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการนำน้ำมันที่เหลือจากการฉีดน้ำขึ้นมา กระบวนการนี้ประกอบด้วยกระบวนการแทนที่สองครั้งซึ่งคือการฉีดแก๊สตามหลังจากฉีดน้ำลงในแหล่งน้ำมัน และกระบวนการแทนที่ด้วยน้ำที่เชื่อมต่ออันดับสองซึ่งคือการแทนที่ด้วยน้ำใหม่ในแหล่งน้ำมันที่ฉีดแก๊ส...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلف الرئيسي: Pasit Udomlaxsananon
مؤلفون آخرون: Suwat Athichanagorn
التنسيق: Theses and Dissertations
اللغة:English
منشور في: Chulalongkorn University 2013
الموضوعات:
الوصول للمادة أونلاين:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48519
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
المؤسسة: Chulalongkorn University
اللغة: English
الوصف
الملخص:การฉีดแก๊สในแหล่งกักเก็บลาดเอียงเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการนำน้ำมันที่เหลือจากการฉีดน้ำขึ้นมา กระบวนการนี้ประกอบด้วยกระบวนการแทนที่สองครั้งซึ่งคือการฉีดแก๊สตามหลังจากฉีดน้ำลงในแหล่งน้ำมัน และกระบวนการแทนที่ด้วยน้ำที่เชื่อมต่ออันดับสองซึ่งคือการแทนที่ด้วยน้ำใหม่ในแหล่งน้ำมันที่ฉีดแก๊สลงไป หลังจากที่แก๊สในกระบวนการแทนที่สองครั้งมาถึงหลุมผลิต แรงโน้มถ่วงจะมีผลโดยตรงต่อการไหลของน้ำมัน ทำให้อัตราการไหลของน้ำมันช้ามาก หลังจากที่น้ำมันผลิต อัตราการผลิตของน้ำมันจะต่ำ ใช้เวลานาน และได้ค่าความอิ่มตัวของน้ำมันต่ำ เพื่อลดช่วงเวลาของการผลิตน้ำมันต่ำ กระบวนการแทนที่ด้วยน้ำที่เชื่อมต่ออันดับสองจึงถูกแนะนำ และกระบวนการนี้คือการต่อยอดของกระบวนการแทนที่สองครั้งผลกระทบของความลาดเอียงได้ถูกศึกษา ผลการศึกษาบ่งบอกว่าแหล่งกักเก็บที่มีความลาดเอียงน้อยกว่าให้ประสิทธิภาพมากกว่า สำหรับเวลาในการหยุดการฉีดน้ำและแก๊ส อัตราส่วนในการผลิตน้ำที่ 60 เปอร์เซ็นต์และค่าอัตราส่วนแก๊สต่อน้ำมันที่ 5 MSCF/STB ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ในส่วนของอัตราการฉีดน้ำและแก๊ส เราได้ปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาได้มากที่สุดเมื่อใช้อัตราการฉีดน้ำครั้งที่หนึ่งที่ 2,000 STB/D อัตราการฉีดแก๊สที่ 2,000 MSCF/D และอัตราการฉีดน้ำครั้งที่สองที่ 2,000 STB/D โดยใช้รูปแบบการวางหลุมแบบ 4 หลุมแนวตั้งจะได้ปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาได้มากที่สุดสำหรับแหล่งกักเก็บที่มีความลาดเอียง 0 และ 15 องศา ขณะที่รูปแบบการวางหลุมแบบ 2 หลุมแนวนอนจะให้ผลดีที่สุดสำหรับแหล่งกักเก็บที่มีความลาดเอียง 30 องศา สำหรับปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาจากการวิเคราะห์เชิงละเอียดจาก ECLIPSE default และ Stone 1 ต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาจาก Stone 2 มีค่าน้อยกว่าทั้งสองอันแรก ขณะที่อัตราส่วนในแนวตั้งและแนวนอนของค่าความซึมผ่านมาก ปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาได้ก็เพิ่มขึ้นและขณะที่ค่าความอิ่มตัวที่เหลือของน้ำมันลดลง ทำให้ปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในด้านของความสามารถในการเปียกน้ำ ระบบแบบเปียกน้ำจะให้ประสิทธิภาพทั้งช่วงได้ดีกว่าระบบแบบเปียกน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันสามารถไหลได้ง่ายในระบบแบบเปียกน้ำ