FINITE ELEMENT SIMULATIONS OF SHRINKAGE CRACKS IN SLAB-ON-GRADE DUE TO RESTRAINTS

เนื่องจากข้อดีหลายอย่างของแผ่นพื้นวางบนดิน โดยเฉพาะทางด้านราคาและความทนทาน แผ่นพื้นดังกล่าวถูกใช้ในโรงงาน อู่รถยนต์ ทางเท้าสำหรับพื้นที่แข็งแรง และในอาคารที่อยู่อาศัยด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องที่สำคัญคือการก่อตัวของรอยแตกร้าวจากการยึดรั้งการเสียรูปของแผ่นพื้น โดยการยึดรั้งที่เป็นไปได้ที่ไม่ยอมให้คอนกรี...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Htet Thandar Soe
Other Authors: Withit Pansuk
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2015
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48178
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Description
Summary:เนื่องจากข้อดีหลายอย่างของแผ่นพื้นวางบนดิน โดยเฉพาะทางด้านราคาและความทนทาน แผ่นพื้นดังกล่าวถูกใช้ในโรงงาน อู่รถยนต์ ทางเท้าสำหรับพื้นที่แข็งแรง และในอาคารที่อยู่อาศัยด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องที่สำคัญคือการก่อตัวของรอยแตกร้าวจากการยึดรั้งการเสียรูปของแผ่นพื้น โดยการยึดรั้งที่เป็นไปได้ที่ไม่ยอมให้คอนกรีตเปลี่ยนแปลงปริมาตรได้อย่างอิสระ ได้แก่ แรงเสียดทานระหว่างแผ่นพื้นและชั้นรองพื้น ผลกระทบของเสาเข็มและเสา และลำดับการหล่อคอนกรีต งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลและสังเกตการก่อตัวของรอยแตกร้าวในแผ่นพื้นวางบนดินของสองโรงงาน ที่เกิดจากการเสียรูปเนื่องจากการหดตัว และจากนั้นตรวจสอบโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ ANSYS ข้อมูลจากทั้งสองโรงงาน ได้แก่ ความกว้างและตำแหน่งของร้อยแตกร้าวได้ถูกรวบรวมเพื่ออ้างอิงในการใช้แบบจำลองรอยแตกร้าวในการจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยในการจำลองเลือกใช้แบบจำลองจากพื้นที่พื้น ที่เกิดการแตกร้าวโดยแบ่งตามรอยต่อก่อสร้างและเงื่อนไขขอบเขตการยึดรั้ง เนื่องจากพื้นที่พื้นมีขนาดใหญ่มาก ผลของความเครียดที่คำนวณได้ถูกเปรียบเทียบกับการก่อตัวของรอยแตกร้าวของงานอ้างอิง การศึกษาตัวแปรได้มุ่งเน้นที่การแตกร้าวเนื่องจากอิทธิพลของลำดับการหล่อคอนกรีต ผลกระทบของแรงเสียดทานระหว่างแผ่นพื้นและชั้นรองพื้น และผลกระทบของอัตราส่วนความยาวต่างๆของแผ่นพื้น