Impacts and adaptive measures for groundwater use in the Mekong delta. case study : Tra Vinh province
เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงของเวียตนาม ทำให้ทรัพยากรน้ำผิวดินไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้พอ น้ำบาดาลจึงถูกใช้มากเกินความสามารถของแอ่งน้ำบาดาล ส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดลง และเกิดการรุกล้ำของน้ำเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาหลักซึ่งส่งผลต่อการจัดหาน้ำกินน้ำ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:47662 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงของเวียตนาม ทำให้ทรัพยากรน้ำผิวดินไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้พอ น้ำบาดาลจึงถูกใช้มากเกินความสามารถของแอ่งน้ำบาดาล ส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดลง และเกิดการรุกล้ำของน้ำเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาหลักซึ่งส่งผลต่อการจัดหาน้ำกินน้ำใช้ การเกษตรและการใช้ชีวิตในพื้นที่ลุ่มนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ติดทะเล จึงจำเป็นต้องมีภาพรวมของการใช้น้ำบาดาลเพื่อแก้ผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจังหวัดทราวินห์เป็นจังหวัดติดทะเลในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และมีการพึ่งพาน้ำบาดาลที่เพิ่มขึ้นจากพื้นที่ด้านเหนือจากด้านใต้ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำจืดในแม่น้ำสายหลักในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูแล้งปี 2018 ประมาณการว่ามีการใช้น้ำบาดาล 346,279 ลบมต่อวันจากการสำรวจภาคสนาม โดยกว่า 52% เป็นการใช้เพื่อเกษตรกรรม เทคนิคเซนเซอร์จับอุณหภูมิผิวดินถูกน้ำมาใช้ในการประมาณการกระจายการใช้น้ำบาดาลในจังหวัดทราวินห์และพิสูจน์ว่าสามารถแสดงผลได้ดีเพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดการน้ำบาดาล ระบบน้ำบาดาลในพื้นที่ศึกษาได้พัฒนาจากระยะเริ่มใช้ พัฒนาสู่ระยะพัฒนา และกลายเป็นช่วงของการใช้มากเกิน จนทำให้สถานะน้ำบาดาลในปัจจุบันไม่มีความยั่งยืน เนื่องจากการใช้น้ำบาดาลที่เพิ่มขึ้นในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา แนวคิดการกำหนดอัตราการใช้น้ำบาดาลที่ยั่งยืนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในระยะยาวได้ถูกนำเสนอและพิสูจน์ว่าเป็นประโยชน์จากการหาจุดสมดุลน้ำและการควบคุมการเคลื่อนตัวของน้ำเค็ม ผลการศึกษาพบว่า จะต้องลดอัตราการใช้น้ำบาดาลในจังหวัดทราวินห์ลง 49 % จากปี 2018 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ในการดำเนินการปรับตัวเพื่อการใช้น้ำบาดาลที่ยั่งยืน การกำหนดแผนการใช้ที่ดินใหม่ตามแผนที่ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่จะลดความต้องการใช้น้ำบาดาลในจังหวัดทราวินห์ได้ แบบจำลองการปรับพฤติกรรมบนพื้นฐานทฤษฏีของฟอคได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางเกษตรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แบบจำลองดังกล่าวช่วยนำสู่ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ชัดเจน ในการนำแผนที่ลุ่มแม่น้ำโขงมาดำเนินการให้สำเร็จดีขึ้น โดยเพิ่มมาตราการจูงใจและทรัพยากรที่เหมาะสมให้กับแต่ละกลุ่มเกษตรกรและแต่ละพื้นที่ |
---|