Environmental geology appraisal using GIS for sanitary landfill site selection in Changwat Chachoenghsao

ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกชุมชนเมืองในโลก กิจกรรมทุกอย่างที่มนุษย์ทำจะก่อให้เกิดขยะซึ่งจะส่งผลต่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมปริมาณขยะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยของการเพิ่มขึ้นของ จำนวนประชากรและการขยายตัวอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะนี้เองก่อให้เกิด...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Utanawan Boonruang
Other Authors: Thanawat Jarupongsakul
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2001
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:39836
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกชุมชนเมืองในโลก กิจกรรมทุกอย่างที่มนุษย์ทำจะก่อให้เกิดขยะซึ่งจะส่งผลต่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมปริมาณขยะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยของการเพิ่มขึ้นของ จำนวนประชากรและการขยายตัวอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะนี้เองก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางนํ้า ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในบริเวณนั้น จึงควรมีการเตรียมมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และแนวทางหนึ่งในการจัดการได้แก่การฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การศึกษานี้ได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกพื้นที่ฝังกลบขยะโดยพิจารณาปัจจัยทางกายภาพ ซึ่งได้แก่ ความลาดชัน แหล่งนํ้าผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ลักษณะทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน ความเสี่ยงต่อการเกิดนํ้าท่วม หน่วยดิน ป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน แหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน พื้นที่ที่มีขนาดรองรับปริมาณขยะได้ไม่น้อยกว่า 20 ปี ฯลฯ หลังจากการวิเคราะห์พบว่ามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (Suitable area) ในการฝังกลบขยะและรองรับปริมาณขยะได้ไม่น้อยกว่า 20 ปีจำนวน 17 แห่ง จากนั้นนำพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาพิจารณาในแง่เศรษฐกิจและสังคมเพื่อจัดลำดับศักยภาพของพื้นที่ปัจจัยที่นำมาพิจารณามี 4 ปัจจัยหลักได้แก่ ระยะทางจากพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้ง 17 แห่งไปยังแหล่งกำเนิดขยะเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา (DSWMC) ระยะทางจากพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้ง 17 แห่ง ไปยังแหล่งกำเนิดขยะทั้งหมด (เฉพาะในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล) ของจังหวัดฉะเชิงเทรา (DSWCC) ราคาที่ดิน และความ สามารถในการขยายพื้นที่เพื่อรองรับปริมาณขยะ โดยให้ค่าความสำคัญ (Weight) เป็น 0.40, 0.40, 0.15 และ 0.05 ตามลำดับ สำหรับระยะทางจากพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้ง 17 แห่ง ไปยังแหล่งกำเนิดขยะทั้งหมดได้แบ่งเป็น 2 ปัจจัยย่อย คือ ค่าเฉลี่ยของระยะทาง (Average) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ซึ่งมีค่าความสำคัญของค่าเฉลี่ยของระยะทาง และของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 และ 0.05 ตามลำดับ จากนั้นมีการให้คะแนนแต่ละปัจจัยโดยค่าคะแนนแบ่งเป็น 5 ค่า คือ 1 ถึง 5 โดยผลรวมของคะแนนทั้งหมดพื้นที่ที่มีคะแนนสูงสุดจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ (Potential area) สูงสุด จากการจัดลำดับศักยภาพพบว่าบริเวณลาดกระทิง 2 และ คู้ยายหมี 1 มีคะแนนสูงสุดเท่ากันคือ 4.35 คะแนน หลังจากนั้นได้ออกภาคสนามเพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ ในเบื้องต้นพบว่าบริเวณท่าตะเกียบ1 ท่าตะเกียบ2, ลาดกระทิง1 และลาดกระทิง2 มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ฝังกลบขยะได้ ซึ่งหากมีการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ฝังกลบขยะควรมีการสำรวจในขั้นรายละเอียดต่อไป จากการศึกษาครั้งนี้จะได้ฐานข้อมูล แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการฝังกลบขยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีศักยภาพเบื้องต้นในการฝังกลบขยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับ ฐานข้อมูลของจังหวัดฉะเชิงเทราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการอื่น ๆ ต่อไป