Coastal erosion at the Pak Phanang River Basin Changwat Nakorn Si Thammarat
การกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากองค์ประกอบต่างมากมาย วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงการประเมินลักษณะของคลื่นชายฝั่งทะเล กระแสน้ำ และลักษณะการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งทะเล บริเ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2005
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:39108 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | การกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากองค์ประกอบต่างมากมาย วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงการประเมินลักษณะของคลื่นชายฝั่งทะเล กระแสน้ำ และลักษณะการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งทะเล บริเวณชายฝั่งในอ่าวไทย รวมถึงการศึกษา ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของชายฝังทะเลในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศในปี 2518, 2535 และ 2545 จากการศึกษาพบลักษณะการกัดเซาะเด่นชัดในช่วงระหว่างปี 2535 ถึง 2545 โดยในช่วงปี 2518 ถึง 2535 พบบริเวณที่มีการกัดเซาะสูงสุดบริเวณบ้านปลายทรายมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยประมาณ 6.84 เมตร/ปี และในช่วงปี 2535 ถึง 2545 พบบริเวณที่มีการกัดเซาะสูงสุดคือมีอัตราการกัดเซาะมากกว่า 10 เมตร/ปี ที่บ้านปลายทรายซึ่งมีอัตราการกัดเซาะประมาณ 11.3 เมตร/ปี และ บ้านนำทรัพย์ซึ่งมีอัตราการกัดเซาะประมาณ 10 เมตร/ปี และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะประมาณ 6-8 เมตร/ปี ตั้งแต่บ้านเกาะฝ้ายจนถึงบ้านนำทรัพย์ การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินหาพื้นที่ที่ประสบปัญหาวิกฤติเร่งด่วน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกพื้นที่ที่สำคัญในการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ชั้นข้อมูลอัตราการกัดเซาะ ร่วมกับชั้นข้อมูลการใช้ที่ดิน ชั้นข้อมูลโครงสร้างการป้องกันชายฝั่ง ชั้นข้อมูลการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ และชั้นข้อมูลดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม พบพื้นที่ที่ควรเริ่มต้นทำการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังในอันดับแรกสุด คือ บริเวณ บางโก้งโค้ง |
---|