Shoreline change after the 26 December 2004 tsunami between Laem Pakarang-Khao Lak area, Changwat Phang-Nga, Thailand
เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายกับบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยเป็นอย่างมาก พื้นที่แนวชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้คือ บริเวณแหลมปะการังถึงเขาหลัก จังหวัดพังงา ตะกอนชายหาดจำนวนมากถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็วและถูกพัดพาไปสะสมตัวอยู่บนฝั่ง ซ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38909 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายกับบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยเป็นอย่างมาก พื้นที่แนวชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้คือ บริเวณแหลมปะการังถึงเขาหลัก จังหวัดพังงา ตะกอนชายหาดจำนวนมากถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็วและถูกพัดพาไปสะสมตัวอยู่บนฝั่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความรุนแรงของสึนามิ แนวชายฝั่งได้ร่นถอยเข้ามาในแผ่นดิน และปากคลองที่อยู่ติดกับทะเลเปิดกว้างขึ้นกว่าเดิม การศึกษาวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะติดตามกระบวนการฟื้นตัวของพื้นที่ชายหาดหลังจากที่ชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเหตุการณ์สึนามิ ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลโทรสัมผัสและข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม การศึกษาแนวชายฝั่งและพื้นที่หาดทรายจะใช้ข้อมูลโทรสัมผัสโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมใน 12 ช่วงเวลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2549 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายหาดทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง และลักษณะของตะกอนชายหาด จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามทุก 3 เดือนในช่วงเดือน มกราคม ถึง พฤศจิกายน 2549 จากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายหาดทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่งในช่วงปี 2549 แสดงให้เห็นว่าเป็นชายฝั่งแบบคงสภาพมีความสมดุลย์กันในเรื่องของการสะสมตัวและการกัดเซาะ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ขนาดของเม็ดตะกอนชายหาดในพื้นที่ศึกษาจะมีขนาดตั้งแต่ทรายหยาบจากทางตอนใต้ที่บริเวณบ้านบางเนียงและลดขนาดลงจนถึงทรายละเอียดทางตอนเหนือที่บลูวิลเลจ ปะการังรีสอร์ท ส่วนประกอบของตะกอนประกอบด้วย แร่ควอร์ซ 60% เศษหอยและเศษปะการัง 35% และส่วนประกอบอื่นๆ 5% และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลโทรสัมผัสและข้อมูลการสำรวจภาคสนามพบว่าแนวชายฝั่งและพื้นที่ชายหาดส่วนใหญ่ได้ฟื้นตัวกลับมาเกือบเท่าเดิมก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิแล้ว แต่พื้นที่ในบริเวณที่เป็นทางน้ำเข้า/ออกที่ติดกับทะเล (ยกเว้นที่บ้านบางเนียง) ยังไม่ฟื้นตัว โดยยังคงสภาพเหมือนเดิมหลังเกิดสึนามิ โดยสรุปแล้วจากการศึกษาจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ได้ฟื้นสภาพกลับมาแล้ว ประมาณ 90% |
---|