Paleogeography and paleoenvironment of Nong Han Kumphawapi, Changwat Udon Thani
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวการหลักที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ การหมุนเวียนของลมมรสุมมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบลมและฝนเหนือประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้ง และน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ตะกอนทะละสาบเป็นหนึ่งในหลักฐานทางธรณีวิทยาที่แสดงถึงความรุนแรงของลมมรสุมใ...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2010
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38072 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
الملخص: | ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวการหลักที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ การหมุนเวียนของลมมรสุมมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบลมและฝนเหนือประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้ง และน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ตะกอนทะละสาบเป็นหนึ่งในหลักฐานทางธรณีวิทยาที่แสดงถึงความรุนแรงของลมมรสุมในอดีต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลมมรสุมแถบเอเชีย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์บรรพกาล และสภาพแวดล้อมบรรพกาล ของหนองหานกุมภวาปี โดยตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพเคมีและการตรวจวัดหาอายุของตะกอนโดยใช้วิธี AMS ¹⁴C เรดิโอคาร์บอน ในหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เก็บตะกอนโดยใช้ Russian corer (เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร และ 7.5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร โดยเก็บตัวอย่างให้มีระยะซ้อนกัน 0.5 เมตร) บริเวณที่ทำการเจาะแท่งตะกอนจะใช้ GPS เพื่อบันทึกตำแหน่งที่แน่นอนของตะกอน แท่งตะกอน CP3A เป็นแท่งตะกอนที่ความต่อเนื่องและสมบูรณ์ที่สุด จึงถูกเลือกไปวิเคราะห์ด้วยวิธีที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง สำหรับการวิเคราะห์แท่งตะกอนจะใช้เครื่องมือ Magnetic susceptibility (MS), X-ray fluorescence (XRF), Loss-on-ignition method (LOI) และหาอายุ โดยใช้วิธี AMS ¹⁴C เรดิโอคาร์บอน นอกจากนี้ได้รวบรวมภาพถ่ายทางอากาศ และแผนที่ GIS เพื่อใช้ตรวจสอบลักษณะทางภูมิศาสตร์ และลักษณะทางภูมิศาสตร์บรรพกาลอีกด้วย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างตะกอนเก่ามีอายุอยู่ในช่วง 7,763 yr B.P. และอายุก่อนสุดอยู่ในช่วง 436 yr B.P. สรุปได้ว่าตะกอน และผลที่ได้จากการตรวจวัด บ่งชี้ว่าหนองหานกุมภวาปี มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำขึ้น-ลง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของลมมรสุม |
---|