Petrology, Geochemistry, and gemmological characteristics of marble-hosted ruby deposits of Morogoro and Mahenge, Tanzania
ศิลาวิทยา ธรณีเคมี และอัญมณีวิทยาจากการศึกษาจากตัวอย่างหินจำนวน 17 ตัวอย่าง และตัวอย่างพลอยจำนวน 80 ตัวอย่างจากเหมืองพลอยทับทิมกำเนิดในหินอ่อนจำนวน 4 เหมือง ในบริเวณโมโรโกโร ประเทศแทนซาเนีย และตัวอย่างพลอยทับทิมจำนวน 46 ตัวอย่างจากแหล่งอื่นๆที่แตกต่างกัน 5 แหล่ง คือ แหล่งโมกก ประเทศพม่า แหล่งยูนนาน...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2011
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37754 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
المؤسسة: | Chulalongkorn University |
اللغة: | English |
الملخص: | ศิลาวิทยา ธรณีเคมี และอัญมณีวิทยาจากการศึกษาจากตัวอย่างหินจำนวน 17 ตัวอย่าง และตัวอย่างพลอยจำนวน 80 ตัวอย่างจากเหมืองพลอยทับทิมกำเนิดในหินอ่อนจำนวน 4 เหมือง ในบริเวณโมโรโกโร ประเทศแทนซาเนีย และตัวอย่างพลอยทับทิมจำนวน 46 ตัวอย่างจากแหล่งอื่นๆที่แตกต่างกัน 5 แหล่ง คือ แหล่งโมกก ประเทศพม่า แหล่งยูนนาน ประเทศจีน แหล่งเมอร์กับ ประเทศทาจิกิสถาน แหล่งลุคเยน ประเทศเวียดนาม และแหล่งมันการี ประเทศเคนยา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุร่องรอยและลักษณะเฉพาะทางอัญมณี การกำหนดแหล่งกำเนิดพลอยทับทิมในหินอ่อนนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบของธาตุร่องรอยเช่น Li Mg Ti V Cr Fe Ga Ge Nb และ Sn ที่ได้จากวิเคราะห์โดยเครื่องมือ LA-ICP-MS องค์ประกอบธาตุร่องรอยเหล่านี้บ่งชี้ถึงลักษณะเฉพาะของพลอยทับทิมจากบริเวณโมโรโกโรมีเหล็ก (Fe) ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพลอยทับทิมจากแหล่งกำเนิดในหินอ่อนอื่นๆ ดังนั้นการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ เช่น องค์ประกอบที่เด่นชัดของแต่ละพื้นที่ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจสอบอัญมณีขั้นสูงสามารถกำหนดแหล่งกำเนิดของพลอยทับทิมได้ เฉพาะลักษณะมลทิน สเปกตรัม UV-Visและข้อมูลจาก FTIR ธรณีวิทยาของแหล่งพลอยทับทิมเทือกเขาอูลูกูรูและมาเฮนเก ในโมโรโกโร สัมพันธ์กับหินอ่อนเป็นส่วนของแนวแกรนูไลต์ตะวันออกในประเทศแทนซาเนีย ทั้งสองพื้นที่แสดงลักษณะธรณีแปรสัณฐานมีการดันตัวเข้าหากันขึ้นไปบนหินฐานไนส์ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะธรณีเคมีบ่งชี้ว่าแหล่งอูลูกูรูอยู่ในหินอ่อนเนื้อแคลไซต์ในขณะที่แหล่งมาเฮนเกพบในหินอ่อนเนื้อโดโลไมต์ ลักษณะศิลาวรรณาของแหล่งอูลูกูรูแสดงองค์ประกอบ โฟลโกไปต์-แอมฟิโบล์-คาร์บอเนต-คอรันดัม-เพลจิโอเคลส-สปิเนล-ไมกาขาว+สคาโพไลต์ ทัวร์มาลีน คลอไรต์ ขณะที่แหล่งมาเฮนเกพบแร่โฟลโกไปต์-คาร์บอเนต-คอรันดัม-เพลจิโอเคลส-แซฟฟิรีน+ แอมฟิโบล์ สฟีน ทัวร์มาลีน คลอไรต์ เป็นหลัก การเกิดพลอยทับทิมทั้งสองพื้นที่นั้นมีลักษณะโครงสร้างเด่นชัดที่แตกต่างกันซึ่งอาจเป็นผลจาก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ-ความดันขเวลาในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา การเย็นตัวลงเมื่อความดันคงที่เนื่องมาจากการการลดแรงดันขณะอุณหภูมิคงที่ทำให้เกิดคอรันดัมตามกระบวนการแปรสภาพไปข้างหน้า (M1) ทั้งจากปฎิกิริยาภายใต้สภาวะของแข็งจากไดแอสพอร์ หรือกระบวนการสลายของมาร์กาไรต์ไปเป็นคอรันดัมและเพลจิโอเคลส สภาวะสูงสุดของการแปรสภาพM1คือ อุณหภูมิประมาณ 750 องศาเซลเซียสและความดัน 8-9 กิโลบาร์ ซึ่งเป็นการแปรสภาพขั้นแกรนูไลต์ สัมพันธ์กับกระบวนการเกิดเทือกเขาแนวตะวันออกของแอฟริกาเมื่อประมาณ 620 ล้านปี ปริมาณ CO2 ในของไหลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในองค์ประกอบของของไหลซึ่งสามารถทำให้เกิดคอรันดัมขึ้นอีกครั้งสัมพันธ์กับกระบวนการแปรสภาพครั้งที่สอง (M2) ในช่วงก่อน 580 ล้านปี ต่อจากนั้นพบลักษณะการแปรสภาพขั้นกรีนชีสต์สัมพันธ์กับกระบวนการแปรสภาพครั้งที่สาม (M3) ประมาณ 580 ล้านปี ลักษณะโครงสร้างที่ควบคุมการเกิดปฎิกิริยาของไหลกับหินเหย้าที่เป็นอ่อนในบริเวณที่มีความสามารถในการไหลผ่านได้ดีไปจนถึงการเกิดพลอยทับทิมในส่วนหัวของแนวคดโค้งต่างๆ |
---|