Engineering and physical properties of residual soil from landslide hazard area in Amphoe Chiang Klang, Changwat Nan, Thailand
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดินถล่มในประเทศไทยได้มุ่งเน้นไปที่การจัดโซนพื้นที่อันตรายจากกาเกิดดินถล่ม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, มุมความชันของลาดดินธรรมชาติ, ปริมาณน้ำฝนที่มากเกินกว่าปกติ ฯลฯ ดังนั้นงานวิจัยจึงตั้งวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการข...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2012
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37626 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดินถล่มในประเทศไทยได้มุ่งเน้นไปที่การจัดโซนพื้นที่อันตรายจากกาเกิดดินถล่ม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, มุมความชันของลาดดินธรรมชาติ, ปริมาณน้ำฝนที่มากเกินกว่าปกติ ฯลฯ ดังนั้นงานวิจัยจึงตั้งวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการข้อมูลทางธรณีวิทยา ,การทดสอบและผลการศึกษาสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่ผุพังมาจากหินต้นกำเนิดซึ่งประกอบไปด้วย สมบัติทางกายภาพของดิน สมบัติทางด้านกำลังรับแรงเฉือนของดินที่ลดลงตามการเพิ่มขึ้นของความชื้นในดิน พื้นที่ศึกษาบ้านหนองปลา อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน พบหินตะกอนเนื้อเม็ดที่เป็นหินต้นกำเนิด ได้แก่ หินดินดาน หินทรายและหินทรายแป้ง ดินและหินผุเหล่านี้มีอัตราการผุพังสลายตัวสูงจึงทำให้มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความชื้นในดิน ค่าเฉลี่ยความถ่วงจำเพาะของดิน ค่าเฉลี่ยขีดจำกัดเหลวและค่าเฉลี่ยขีดจำกัดพลาสติก มีค่าเท่ากับ 24.83 %, 2.68 , 44.93 % และ 29.35 % ตามลำดับ ดัชนีพลาสติกมีค่าเท่ากับ 15.58 % ค่าความซึมน้ำของดินอยู่ระหว่าง 9.36E-06 ถึง 6.81E-07 เซนติเมตรต่อวินาที ตามลำดับ ดินในพื้นที่ศึกษาสามารถจำแนกโดยใช้ระบบการจำแนกดินทางวิศวกรรมแบบเอกภาพ (USCS) ได้เป็น ML-CL, CL-ML, ML-OL, SC และ SM ค่าแรงยึดเหนี่ยวของดินอยู่ระหว่าง 0.096 ถึง 1.196 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และค่ามุมเสียดทานภายในของดินอยู่ระหว่าง 11.51 ถึง 35.78 องศา ตามลำดับจากข้อมูลการสำรวจความต้านทานไฟฟ้า (สามแนวสำรวจ) ดินมีความลึกอยู่ในช่วงระหว่าง 2 ถึง 9 เมตร ความหนาของดินที่วางอยู่บนหินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการคำนวณปริมาตรของดินที่จะพังทลายลงมา ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า พื้นที่ที่เกิดการพิบัติของลาดดินมีความชันเท่ากับหรือมากกว่า 25 องศาโดยลักษณะของชั้นดินเกิดจากหินตะกอนเนื้อเม็ดที่ผุพังและมีความชื้นในดินสูง การเปลี่ยนแปลงค่าอัตราของความปลอดภัยของลาดดินจะเกิดขึ้นสูงที่ระดับความลึกของดินระหว่าง 2-5 เมตรซึ่งใกล้เคียงกับความลึกของการพิบัติในธรรมชาติ |
---|