Petroleum Geochemistry of Huai Hin Lat Formation, Northeastern Thailand

การสำรวจปิโตรเลียมในที่ราบสูงโคราชบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) มีการเจาะสำรวจไปแล้ว 55 หลุม สามารถทำการผลิตปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ได้ 2 แหล่งคือ แหล่งน้ำพอง และแหล่งสินภูฮ่อม โดยสามารถผลิตแก๊สธรรมชาติจากชั้นหินปูนอายุเพอร์เมียน หินดินดานในห...

全面介紹

Saved in:
書目詳細資料
主要作者: Prawat Chamchoy
其他作者: Kruawun Jankaew
格式: Theses and Dissertations
語言:English
出版: Chulalongkorn University 2014
主題:
在線閱讀:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37336
標簽: 添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
機構: Chulalongkorn University
語言: English
實物特徵
總結:การสำรวจปิโตรเลียมในที่ราบสูงโคราชบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) มีการเจาะสำรวจไปแล้ว 55 หลุม สามารถทำการผลิตปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ได้ 2 แหล่งคือ แหล่งน้ำพอง และแหล่งสินภูฮ่อม โดยสามารถผลิตแก๊สธรรมชาติจากชั้นหินปูนอายุเพอร์เมียน หินดินดานในหมวดหินห้วยหินลาด และหินดินดานอายุเพอร์เมียนในกลุ่มหินสระบุรีมีศักยภาพเป็นหินต้นกำเนิด ในการศึกษานี้ได้เลือกตัวอย่างเศษชิ้นหินของหมวดหินห้วยหินลาดมาทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางธรณีเคมีปิโตรเลียม เพื่อประเมินศักยภาพในการเป็นหินต้นกำเนิด ชนิดของสารอินทรีย์ ระดับความพร้อมในการให้ปิโตรเลียม รวมทั้งสภาพแวดล้อมของการตกสะสมตัวในอดีต ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเศษชิ้นหินของหมวดหินห้วยหินลาดจาก 10 หลุมสำรวจในที่ราบสูงโคราชจำนวนทั้งหมด 22 ตัวอย่าง ด้วยวิธีทางธรณีเคมีปิโตรเลียม โดยทำการวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมด (TOC) การวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Rock-Eval pyrolysis การหาชนิดของเคอโรเจนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การวิเคราะห์หาค่า Vitrinite reflectance รวมทั้งการวิเคราะห์สารสกัดไฮโดรคาร์บอนด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟี และเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์ ค่า Vitrinite reflectance และ thermal alteration scale แสดงให้เห็นถึงระดับความพร้อมในการให้ปิโตรเลียมอยู่ในช่วงสุดท้ายถึงช่วงผ่านการให้ปิโตรเลียมไปแล้ว ค่า HI และ OI บ่งชี้ว่าในช่วงเริ่มต้นตัวอย่างหินหมวดหินห้วยหินลาดประกอบด้วยเคอโรเจนชนิดที่ II, II/III และ III แต่ผลจากระดับความร้อนที่สูงส่งผลให้เคอโรเจนมีการแปรสภาพเป็นชนิดที่ IV ปริมาณสารอินทรีย์ตั้งต้น (TOCO) ของตัวอย่างหินอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนถึงสูงมาก แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างหินมีศักยภาพการเป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมในระดับที่ต่ำจนถึงดีเลิศ ตัวอย่างหินหมวดหินห้วยหินลาดจากพื้นที่ Phu Phan Anticlinorium มีปริมาณสารอินทรีย์ที่สูงกว่าพื้นที่ชุมแพ และขอนแก่น-อุบล โดยที่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของพื้นที่ Phu Phan Anticlinorium มีปริมาณสารอินทรีย์ที่มากกว่าทางด้านตะวันออกและตะวันตกของพื้นที่ Phu Phan Anticlinorium จาก nonbiomarker และ biomarker บ่งชี้ว่าสารอินทรีย์ในตัวอย่างหินจากหมวดหินห้วยหินลาดมากจากสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเล โดยมีการตกสะสมในสภาพแวดล้อมที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำถึงไม่มีเลย นอกจากนี้ลักษณะของโครมาโตรแกรมของ n-alkane มีลักษณะเป็นสองยอด (bimodal) ซึ่งบ่งชี้ว่าสารอินทรีย์ในตัวอย่างหินมีสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตจากบนบกที่สูงกว่าสิ่งมีชีวิตจากในทะเล แผนภูมิสามเหลี่ยมของ C27-C28-C29 regular sterane บ่งชี้สภาพแวดล้อมในการตกสะสมตัวของตะกอนว่าน่าจะเป็นบริเวณปากแม่น้ำหรือทะเล ซึ่งการพบ gammacerane ในทุกตัวอย่างก็สนับสนุนสภาพแวดล้อมดังกล่าว