Groundwater balance and safe yield of middle Khorat aquifer in the Khwae Hanuman sub-basin, Changwat Prachinburi
ลุ่มน้ำย่อยแควหนุมานตอนล่างครอบคลุมอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 900 ตารางกิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการพัฒนาน้ำบาดาลจากชั้นน้ำมาใช้เพื่อกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตพื้นที่นี้จะมีความต้องการใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งหา...
Saved in:
主要作者: | |
---|---|
其他作者: | |
格式: | Theses and Dissertations |
語言: | English |
出版: |
Chulalongkorn University
2016
|
主題: | |
在線閱讀: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:36924 |
標簽: |
添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
|
機構: | Chulalongkorn University |
語言: | English |
總結: | ลุ่มน้ำย่อยแควหนุมานตอนล่างครอบคลุมอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 900 ตารางกิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการพัฒนาน้ำบาดาลจากชั้นน้ำมาใช้เพื่อกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตพื้นที่นี้จะมีความต้องการใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งหากมีการสูบใช้ในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำบาดาลลดลงจนเสียสมดุลน้ำได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาและประเมินศักยภาพการเติมน้ำ สมดุลน้ำบาดาลและปริมาณการใช้น้ำปลอดภัยในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาล สมดุลน้ำและปริมาณการใช้น้ำที่ปลอดภัยของชั้นน้ำชุดหินโคราชตอนกลางในบริเวณลุ่มน้ำแควหนุมานส่วนล่าง โดยคำนวณศักยภาพการเติมน้ำด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเติมน้ำ ได้แก่ ลักษณะธรณีวิทยา ชนิดดิน การใช้ที่ดิน ความลาดชันของพื้นที่ ความหนาแน่นของทางน้ำและรอยแตก แล้วคูณด้วยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปี ด้วยซอฟแวร์ Arc GIS จากการออกภาคสนามพบว่า ชั้นให้น้ำบาดาลในพื้นที่แบ่งได้ 2 ชั้นคือ ชั้นให้น้ำตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารีและชั้นหินให้น้ำโคราชตอนกลาง มีระดับน้ำบาดาลอยู่ที่ระดับ -37 ถึง 35 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางและทิศทางการไหลของน้ำบาดาลไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ศักยภาพการเติมน้ำบาดาลสูง (2.3%) พบบริเวณตอนกลางของพื้นที่ศึกษา โดยมีปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงชั้นน้ำบาดาลประมาณ 12.8 % ของปริมาณฝนเฉลี่ย 30 ปี ผลการประเมินสมดุลน้ำบาดาลรายฤดูกาลพบว่าสมดุลน้ำบาดาลของชั้นหินให้น้ำชุดโคราชตอนกลางในฤดูแล้งและฤดูฝนปีพ.ศ.2558 และฤดูแล้งถัดมาในปีพ.ศ.2559 เท่ากับ 0.33, 0.32 และ 0.38 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ พื้นที่ลุ่มน้ำแควหนุมานส่วนล่างสามารถสูบน้ำบาดาลได้อีก 27,286 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือประมาณ 2 เท่าของอัตราการสูบน้ำในปัจจุบัน เมื่อทดสอบสูบน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น 10-200% ทำให้บริเวณตรงกลางของพื้นที่ศึกษาเกิดระยะน้ำลด 2.5-4.0 เมตร ซึ่งผลการศึกษาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาต่อเพื่อการพัฒนาการสำรวจน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร และประเมินอัตราการสูบน้ำที่เหมาะสมเพื่อใช้น้ำบาดาลอย่างยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม |
---|