Investigation of sand resources by high resolution seismic reflection in Jomtein beach offshore area of Changwat Chonburi, Thailand

หาดจอมเทียน กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ในอดีตมีการแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ส่งผลกรทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและได้รับชายหาดกลับคืนมาเร็วที่สุดคือการเสริมทรายชายหาด แต่การเสริมทรายแต่ละครั้งต้องใช้ทรายในปริมาณที่มากและต้องมีการเติมทรายหลายครั...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلف الرئيسي: Tosapl Wathananukulwong
مؤلفون آخرون: Thanawat Jarupongsakul
التنسيق: Theses and Dissertations
اللغة:English
منشور في: Chulalongkorn University 2016
الموضوعات:
الوصول للمادة أونلاين:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:36919
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
المؤسسة: Chulalongkorn University
اللغة: English
الوصف
الملخص:หาดจอมเทียน กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ในอดีตมีการแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ส่งผลกรทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและได้รับชายหาดกลับคืนมาเร็วที่สุดคือการเสริมทรายชายหาด แต่การเสริมทรายแต่ละครั้งต้องใช้ทรายในปริมาณที่มากและต้องมีการเติมทรายหลายครั้ง อีกทั้งทรายบกหรือทรายปากแม่น้ำมีราคาสูง จึงมีความจำเป็นต้องสำรวจพื้นที่ที่สะสมตัวของชั้นตะกอนทรายในทะเล การสำรวจแหล่งทรายในครั้งนี้ได้นำเทคนิคการสะท้อนคลื่นไหวสะเทือนแบบแยกชัดสูงมาใช้ในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 72 ตารางกิโลเมตร การสำรวจโดยเทคนิคดังกล่าว ได้ภาพตัดขวางการสะสมตัวของชั้นตะกอน นำผลที่ได้มาแปลความหมายร่วมกับข้อมูลการเจาะสำรวจจำนวน 6 หลุม ในบริเวณพื้นที่ศึกษา หลังจากนั้น สร้างแบบจำลอง 3 มิติ ของลำดับชั้นตะกอนและประเมินศักยภาพของแหล่งทรายดังกล่าวเบื้องต้น จากข้อมูลการคลื่นไหวสะเทือนบริเวณพื้นที่ศึกษาสามารถแปลข้อมูลประกอบกับข้อมูลหลุมเจาะได้ทั้งสิ้น 4 หน่วย ( A – D) และสามารถคำนวณปริมาณสำรองแหล่งทรายได้ประมาณ 242 ล้านลูกบาศก์เมตร ข้อมูลหน่วย A มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร กระจายอยู่บริเวณแนวกึ่งกลางของพื้นที่ศึกษา กระจายสลับเป็นช่วงสั้นๆ กับ ข้อมูลหน่วย B มีปริมาณจากการประเมินเบื้องต้นประมาณ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ข้อมูลหน่วย B เป็นมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 9 เมตร เป็นแหล่งทรายที่อยู่ชั้นบนสุด บางพื้นที่มี ข้อมูลหน่วย A กระจายทับถมปิดทับด้านบนเป็นช่วงสั้นๆ มีปริมาณจากการประเมินเบื้องต้นประมาณ 62.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ข้อมูลหน่วย C มีลักษณะเป็นร่องน้ำโบราณ ที่พบในพื้นที่ศึกษา มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 12 เมตร มีปริมาณจากการประเมินเบื้องต้นประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ข้อมูลหน่วย D เป็นกลุ่มข้อมูลที่อยู่ล่างสุดและมีความหนามากที่สุด โดยมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 22 เมตร มีปริมาณจากการประเมินเบื้องต้นประมาณ 158 ล้านลูกบาศก์เมตร