Water balance and safe yield in the quaternary aquifer of phrae basin

จังหวัดแพร่เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อประเมินการกระจายเชิงพื้นที่และเวลาของปริมาณการเติมน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำในหินตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารี ตลอดจนประเมินดุลของน้ำบาดาลและปริมาณการสูบน้ำปลอดภัยที่มีความเหมาะสมต่อชั้นหินอุ้มน้ำ โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ซึ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Karun Taraka
Other Authors: Srilert Chotpantarat
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2016
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:36916
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:จังหวัดแพร่เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อประเมินการกระจายเชิงพื้นที่และเวลาของปริมาณการเติมน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำในหินตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารี ตลอดจนประเมินดุลของน้ำบาดาลและปริมาณการสูบน้ำปลอดภัยที่มีความเหมาะสมต่อชั้นหินอุ้มน้ำ โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ซึ่งประกอบด้วยส่วนแรก คือ ส่วนการจำลองน้ำผิวดินด้วยแบบจำลอง SWAT ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำท่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินมีปริมาณสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในทุกลุ่มน้ำสาขา โดยมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 4.94 (สถานี Y.38) ถึงร้อยละ 77.64 (สถานี Y.24) การประเมินปริมาณการเติมน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำในแต่ละลุ่มน้ำย่อยอยู่ในช่วง 14.62 มิลลิเมตรต่อปี ถึง 433.86 มิลลิเมตรต่อปี ทั้งนี้จากการศึกษายังพบว่าผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น นอกจากจะมีผลต่อปริมาณน้ำท่าที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่ออัตราส่วนของการเติมน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำ (เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณฝนรายปี) ในแต่ละลุ่มน้ำย่อยที่ลดลงอีกด้วย โดยมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 0.26 (สถานี Y.6) ถึงร้อยละ 5.12 (สถานี Y.36)ส่วนที่สอง คือ ส่วนการจำลองน้ำบาดาลด้วยแบบจำลอง visual MODFLOW ผลการประเมินสมดุลน้ำบาดาลรวม มีค่าเท่ากับ +665.69 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ศึกษาสามารถเพิ่มอัตราการสูบได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 จากอัตราการสูบเดิม ซึ่งผลการศึกษาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้พัฒนาและต่อยอดเพื่อบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินและทรัพยากรน้ำบาดาลที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต