Influences Of Geologic Conditions And Anthropogenic Activities On Changes Of Geomorphology And Sediment Load Characteristics Of The Ping And Chao Phraya Rivers

แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสาขาหลักที่ไหลลงมารวมกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ราบลุ่มภาคกลางก่อนไหลออกสู่อ่าวไทย เหตุการณ์น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณแม่น้ำปิงตอนล่างซึ่งมีการสะสมของตัวสันดอนทรายมากอย่างผิดปกติ ในทางตรงกันข้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Nikhom Chaiwongsaen
Other Authors: Montri Choowong
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2018
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:36564
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสาขาหลักที่ไหลลงมารวมกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ราบลุ่มภาคกลางก่อนไหลออกสู่อ่าวไทย เหตุการณ์น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณแม่น้ำปิงตอนล่างซึ่งมีการสะสมของตัวสันดอนทรายมากอย่างผิดปกติ ในทางตรงกันข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับเกิดการพังทลายของตลิ่งและชายฝั่งรอบปากแม่น้ำกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การวิเคราะห์ธรณีสัณฐานของแม่น้ำจากภาพถ่ายดามเทียม Landsat ปี ค.ศ.1987, 1997, 2007 และ 2017 พบว่าแม่น้ำทั้งสองสายแคบลงมาก พื้นที่สันดอนทรายในแม่น้ำปิงตอนล่างมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 28.8 ตารางกิโลเมตร การสะสมตัวของตะกอนท้องน้ำที่มากขึ้นทำให้แม่น้ำตื้นเขินและน้ำไหลล้นตลิ่งอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าน้ำหลาก ในขณะเดียวกันพื้นที่ชายฝั่งปากแม่น้ำเจ้าพระยากลับถูกกัดเซาะไป 18.8 ตารางกิโลเมตร ในช่วง ค.ศ.1987 ถึง 2017 อัตราการพัดพาตะกอนท้องน้ำในแม่น้ำปิงตอนล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางด้านท้ายน้ำ โดยปกติตะกอนท้องน้ำส่วนใหญ่จะถูกกักอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะทำให้ตะกอนท้ายเขื่อนลดลงอย่างมาก แต่จากการศึกษาพบว่าตะกอนท้องน้ำปริมาณมากถูกพัดพามาเติมในแม่น้ำปิงตอนล่างโดยทางน้ำสาขา และถูกกักไว้ระหว่างฝายทดน้ำทั้ง 7 ฝายที่สร้างขึ้นเป็นช่วง ๆ ตลอดลำน้ำ ตะกอนท้องน้ำปริมาณมากที่เพิ่มขึ้นและการลดความเร็วและปริมาณน้ำโดยเขื่อนและฝายเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการสะสมตัวของสันดอนทรายในแม่น้ำ อย่างไรก็ตาม การพังทลายของตลิ่งอย่างรุนแรงก็สามารถเกิดขึ้นเป็นแห่ง ๆ เนื่องมาจากการที่สันดอนทรายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไปเปลี่ยนทิศทางและเพิ่มแรงของกระแสน้ำให้มากขึ้น ปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะพลวัตรของตะกอนและอุทกวิทยาของแม่น้ำปิงตอนล่าง ปัจจัยที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมทางน้ำ การทำลายป่า และการขุดทรายในแม่น้ำ ในขณะที่ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ได้แก่ อัตราการผุกร่อนและการผุพังสูงของหินแกรนิตที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนล่าง โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาสูงที่มีอัตราการตัดไม้ทำลายป่าไม้มากและมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มสูง การใช้โปรมแกรม Digital Shoreline Analysis System (DSAS) รวมกับภาพถ่ายดาวเทียมจากกูเกิลเอิร์ท (Google Earth) ทำให้สามารถระบุตำแหน่งตลิ่งแม่น้ำที่มีการงอกของสันดอนทรายหรือมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงได้ การประยุกต์ใช้การสำรวจการหยั่งลึกด้วยสัญญาณเรดาร์ (Ground Penetrating Radar) ร่วมกับการสำรวจการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistivity Survey) ในการสำรวจสันดอนทรายบริเวณแม่น้ำปิงตอนล่าง ทำให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างและสัณฐานของตะกอนสันดอนทราย พบว่าความหนาของชั้นสันดอนทรายที่สำรวจมีความหนาประมาณ 10-12 เมตร ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใชัได้ในหลายมิติ เช่นการวางแผนก่อสร้างฝาย การควบคุมดูแลการดูดทรายแม่น้ำ การสะสมตัวของตะกอนในอ่างเก็บน้ำ และการจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น