Chemical constituents of aglaia forbesii and aglaia oligophylla leaves and their biological activities

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบลางสาดป่า (วงศ์ Meliaceae) สามารถแยกสารใหม่ในกลุ่ม cyclopenta[bc]-benzopyran flavaglines 3 ชนิด คือ desacetylpyramidaglains A, C และ D และสารใหม่ในกลุ่มของ cycloartane trierpenoid 1 ชนิด คือ (23R, 24S)-23,24,25-trihydroxycycloartan-3-one รวมทั้งพบสารที่เคยมีรายงานมาแล้ว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Nantiya Joycharat
Other Authors: Ekarin Saifah
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2007
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:32234
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบลางสาดป่า (วงศ์ Meliaceae) สามารถแยกสารใหม่ในกลุ่ม cyclopenta[bc]-benzopyran flavaglines 3 ชนิด คือ desacetylpyramidaglains A, C และ D และสารใหม่ในกลุ่มของ cycloartane trierpenoid 1 ชนิด คือ (23R, 24S)-23,24,25-trihydroxycycloartan-3-one รวมทั้งพบสารที่เคยมีรายงานมาแล้วอีก 8 ชนิด ได้แก่ สารกลุ่ม sesquiterpenoid 1 ชนิด คือ spathulenol, สารกลุ่ม pregnane steroids 2 ชนิด คือ 2β,3β-dihydroxy-5α-pregn-17(20)-(Z)-en-16-one และ 2β,3β-dihydroxy-5α-pregn-17(20)-(E)-en-16-one, สารกลุ่ม stigmastane steroids 2 ชนิด คือ สารผสมของ β-sitosterol และ stigmasterol และสารกลุ่ม triterpenoids ซึ่งพบได้ทั่วไป 2 ชนิด คือ lupeol และ lupenone ส่วนการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบประยงค์ใบใหญ่ สามารถแยกสารได้ 11 ชนิด โดยเป็นสารกลุ่ม cyclopenta[b]benzofuran flavagline 1 ชนิด คือ rocaglaol, สารกลุ่ม dammarane triterpenoids 8 ชนิด คือ dipterocarpol, สารผสมของ ocotilone และ cabraleone, ocotillol-II, 20S,24S-dihydroxydammar-25-en-3-one, 20X,25-epoxy-24R-hydroxy-3-dammaranone และสารผสมของ 20S,25-epoxy-24R-hydroxydammar-3α-ol และ 20S,25-epoxy-24R-hydroxydammar-3β-ol และสารกลุ่ม bisamides 2 ชนิด คือ สารผสมของ odorine และ 2 -epi-odorine การพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีของสารที่แยกได้นี้ อาศัยการวิเคราะห์สเปคตรัมของ UV, IR, MS และ NMR ร่วมกับการเปรียบเทียบข้อมูลของสารที่ทราบโครงสร้างแล้ว โดยสารแต่ละชนิดที่สกัดได้จากพืชทั้งสอชนิดได้ถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis, H₃₇Ra), ฤทธิ์ต้านไวรัสเริม HSV-1, และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด (NCI-H187) สารสกัดจากลาดสาดป่าทั้งหมดแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรคยกเว้น desacetylpyramidaglains A และ C โดยพบว่า desacetylpyramidaglain D และ pyramidatine แสดงฤทธิ์ได้ดีที่สุด และยังพบว่าสารสกัดบางชนิดจากพืชนี้แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสเริม HSV-1 โดยสารดังกล่าวประกอบด้วย 23,24,25-trihydroxycycloartan-3-one, desacetylpyramidaglain D, และ 2β,3β-dihydroxy-5α-pregn-17(20)-(E)-en-16-one ในขณะที่พบว่า lupeol นั้นแสดงความเป็นพิษปานกลางต่อเซลล์มะเร็งปอด (NCI-H187) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากประยงค์ใบใหญ่ 4 ชนิด ได้แก่ สารผสมของ 20S,25-epoxy-24R-hydroxydammar-3α-ol และ 20S,25-epoxy-24R-hydroxydammar-3β-ol และสารผสมของ odorine และ 2 -epi-odorine แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค