Effects of Rhinacanthin-C on function and expression of efflux drug transporters in caco-2 cells
ไรนาแคนทินซีเป็นสารในกลุ่มแนพโทควินโนนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการอักเสบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของไรนาแคนทินซีต่อการทำงานและการแสดงออกของตัวขับยาออกนอกเซลล์ในกลุ่มของ ABC transporters โดยเฉพาะ พี-ไกลโคโปรตีน (P-gp) และ มัลติดรักรีซิสแทนซ์โปรตี...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2011
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:32081 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
المؤسسة: | Chulalongkorn University |
اللغة: | English |
الملخص: | ไรนาแคนทินซีเป็นสารในกลุ่มแนพโทควินโนนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการอักเสบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของไรนาแคนทินซีต่อการทำงานและการแสดงออกของตัวขับยาออกนอกเซลล์ในกลุ่มของ ABC transporters โดยเฉพาะ พี-ไกลโคโปรตีน (P-gp) และ มัลติดรักรีซิสแทนซ์โปรตีน 2 (MRP2) โดยใช้เซลล์คาโค-2 เป็นแบบจำลองในการศึกษา การทำงานของตัวขับยาออกนอกเซลล์ทั้งสองชนิดศึกษาโดยวัดค่าการเรืองแสงของ calcein และ CDCF ที่สะสมในเซลล์ ส่วนการแสดงออกของโปรตีน P-gp ศึกษาโดยใช้ immunofluorescent probe ที่จับกับ P-gp ที่ผิวเซลล์ ผลการศึกษาพบว่าสารไรนาแคนทินซีสามารถยับยั้งการทำงานของ P-gp และ MRP2 ได้ โดยยับยั้งการทำงานของ P-gp ได้มากกว่า MRP2 ทั้งนี้การยับยั้งการทำงานของ P-gp มีลักษณะผันกลับได้ นอกจากนี้ การให้สารไรนาแคนทินซีที่ความเข้มข้นสูง (100 µM) กับเซลล์คาโค-2 เป็นระยะเวลา 1 วัน มีผลเพิ่มการแสดงออกของ P-gp ที่ผิวเซลล์ โดยไม่มีผลต่อการทำงานของ P-gp และเมื่อให้สารดังกล่าวที่ความเข้มข้นสูงสุดที่ไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษกับเซลล์ (0.625 µM) เป็นเวลา 7 วัน ไม่พบว่าสารมีผลต่อการแสดงออกและการทำงานของ P-gp แต่อย่างใด ผลการศึกษาชี้แนะว่าควรต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการนำสารไรนาแคนทินซีไปใช้ร่วมกับสารที่เป็น substrates ของ P-gp ต่อไป |
---|