Retrobulbar versus circumferential subconjunctival anesthesia on the pain control during planned extracapsular cataract extraction with intraocular lens implantation: a randomized equivalence trial
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการฉีดยาชาเข้ากระบอกตา และการฉีดยาชาใต้เยื่อบุตา ต่อผลการระงับปวดระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่างได้จาก ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม ณ สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงธันวาคม...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2003
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:31309 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการฉีดยาชาเข้ากระบอกตา และการฉีดยาชาใต้เยื่อบุตา ต่อผลการระงับปวดระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่างได้จาก ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม ณ สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงธันวาคม 2543 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีสุ่ม โดยซ่อนรหัสของผู้ป่วยแต่ละคนแยกไว้ในแผ่นกระดาษทึบปิดผนึก กลุ่มที่หนึ่งได้รับการฉีดยาชาเข้ากระบอกตา กลุ่มที่สองได้รับยาชาใต้เยื่อบุตา ผู้ป่วย แพทย์ผ่าตัด พยาบาล และผู้ลงบันทึกข้อมูล ไม่ทราบถึงวิธีการให้ยาชา วัดผลโดยผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวดโดยการบันทึกลงบนเส้นที่มึความยาว 100 มม. ทั้งความเจ็บปวดระหว่างฉีดยาชา และระหว่างผ่าตัด แพทย์ผู้ฉีดยาบันทึกผลข้างเคียงของการฉีดยาชา แพทย์ผ่าตัดให้คะแนนความพึงพอใจ และบันทึกผลข้างเคียงของการผ่าตัด พยาบาลห้องผ่าตัดบันทึกการใช้ยาช่วยระงับปวดเพิ่มเติม การศึกษานี้ได้กำหนดขอบเขตของการยอมรับว่าคะแนนความปวดของ 2 วิธีเท่ากัน โดยใช้ค่า -10 ถึง +10 มม. ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 145 ราย แบ่งเป็น กลุ่มแรก 81 ราย และกลุ่มที่สอง 64 ราย มีผู้ป่วย 3 รายที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้จนครบ เนื่องจากมีการเปลี่ยนวิธีผ่าตัดภายหลัง ผู้ป่วย 1 รายชักก่อนผ่าตัดจึงไม่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก ผลการศึกษาพบว่าเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี As-treated แล้วนั้น ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของมัธยฐานความแตกต่าง ของคะแนนความปวดระหว่งการผ่าตัด และความปวดขณะถูกฉีดยาชา เป็น -8 ถึง 5 และ -1 ถึง 3 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัด พบว่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของค่าเฉลี่ยความแตกต่าง เป็น 8.4 ถึง 14.4 คือ พอใจกลุ่มแรกมากกว่า การวิเคราะห์ผลด้วยวิธี Intention-to-treat โดยสมมติกรณีแย่ที่สุด และกรณีที่สุดพบว่าผลที่ได้เป็นไปทำนองเดียวกัน ผลข้างเคียงที่รุนแรงและไม่พึงประสงค์ ทั้งขณะฉีดยาชา และขณะผ่าตัด พบได้น้อย การใช้ยาระงับปวดเพิ่มเติมในกลุ่มแรกมากกว่ากลุ่มที่สอง (ร้อยละ 18 ต่อ 3, ค่าพี = 0.007 โดยการทดสอบฟิชเชอร์เอกแซกท์) สรุป: การฉีดยาชาทั้ง 2 วิธีสามารถระงับปวดระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกได้เท่ากัน ความปวดขณะถูกฉีดยาชาไม่แตกต่างกัน แพทย์ผ่าตัดพึงพอใจวิธีฉีดยาเข้ากระบอกตามากกว่า แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้ยาระงับปวดเพิ่มเติมมากกว่า การศึกษาครั้งนี้ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ทั้งจากการฉีดยาชาและการผ่าตัด |
---|