การปล่อยชั่วคราวโดยใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกัน

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่นำบริษัทประกันภัยเข้ามาสนับสนุนงานของกระบวนการยุติธรรม โดยหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ออกระเบียบรองรับการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกัน โดยถือว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมายื่นเพื่อเป็นหลักประกั...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلف الرئيسي: ครองขวัญ ยุทธชัย
مؤلفون آخرون: มัทยา จิตติรัตน์
التنسيق: Theses and Dissertations
اللغة:Thai
منشور في: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
الوصول للمادة أونلاين:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:23107
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
المؤسسة: Chulalongkorn University
اللغة: Thai
الوصف
الملخص:ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่นำบริษัทประกันภัยเข้ามาสนับสนุนงานของกระบวนการยุติธรรม โดยหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ออกระเบียบรองรับการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกัน โดยถือว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมายื่นเพื่อเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวได้ และหนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยมีสถานะเป็น Standby Credit ซึ่งสามารถนำสาระสำคัญในเรื่องลักษณะเฉพาะของข้อกำหนด ISP 98 มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มีผลใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ตามสัญญา Standby Credit โดยเฉพาะ จึงทำให้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้กับนิติสัมพันธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีการนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับนิติสัมพันธ์ตามหนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย ยังขาดความสอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของ Standby Credit เนื่องจากนิติสัมพันธ์ดังกล่าวมีรูปแบบพิเศษแตกต่างจากนิติสัมพันธ์ตามสัญญาทั่วไปซึ่งมิได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ปัญหาในทางกฎหมายดังกล่าวนี้จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาจากการศึกษาพบว่า ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชดใช้เงินค่าปรับคืนให้แก่บริษัทประกันภัยที่ได้ใช้เงินตามหนังสือรับรองเป็นข้อกำหนดที่ขัดกับหลักการประกันภัย นอกจากนี้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ใช้หนังสือรับรองเป็นหลักประกันมีแนวโน้มหลบหนีมากขึ้น เนื่องจากการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่เท่ากันในทุกคดี และการขาดระบบตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาหรือจำเลยเพื่อประกอบการพิจารณาการให้ประกันของบริษัทประกันภัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความน่าเชื่อถือของหนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดกรณีที่นายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้นำสาระสำคัญของข้อกำหนด ISP 98 กล่าวคือ หนังสือรับรองเป็นเอกสารที่บริษัทประกันภัยทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีผลผูกพันเมื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือศาล โดยไม่สามารถเพิกถอนหนังสือรับรองที่ให้ไว้ได้ และหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นอิสระแยกต่างหากจากสัญญาอื่น มีผลให้บริษัทประกันภัยไม่สามารถกล่าวอ้างหรือยกข้อต่อสู้ใด ๆ อันเกิดจากความสัมพันธ์ตามสัญญาหลักมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้ และเสนอแนวทางในการกำหนดกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยในการปล่อยชั่วคราวและเป็นธรรมทางกฎหมายยิ่งขึ้น