ปัจจัยทำนายการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของทันตแพทย์

ทันตแพทย์สามารถช่วยผู้รับบริการทันตกรรมที่สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้ การวิจัยเชิงสํารวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ และปัจจัยทํานายการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ตามกรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED model ตัวอย่างคือ ทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิไม่เกิน...

وصف كامل

محفوظ في:
التفاصيل البيبلوغرافية
المؤلفون الرئيسيون: บุญพร้อม ไพรงาม, ศรัณญา เบญจกุล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, Boonprom Praingam, Saranya Benjakul, Wirin Kittipichai
مؤلفون آخرون: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
التنسيق: Original Article
اللغة:Thai
منشور في: 2021
الموضوعات:
الوصول للمادة أونلاين:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63669
الوسوم: إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
الوصف
الملخص:ทันตแพทย์สามารถช่วยผู้รับบริการทันตกรรมที่สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้ การวิจัยเชิงสํารวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ และปัจจัยทํานายการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ตามกรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED model ตัวอย่างคือ ทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิไม่เกิน 120 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จําานวน 539 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองทางไปรษณีย์ และออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบทันตแพทย์ช่วยเลิกบุหรี่สม่ําเสมอสูงสุด ได้แก่ การแนะนําเลิกบุหรี่ ร้อยละ 50.3 เมื่อพิจารณาการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ครบ 2 ขั้นตอน(2As) สม่ําเสมอ พบทันตแพทย์ปฏิบัติ ร้อยละ 23.0 โดยมี 8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการช่วยเลิกบุหรี่ 2As สม่ําเสมออย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ปีที่สําเร็จการศึกษา การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้บทบาทหน้าที่ ความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ คลินิกช่วยเลิกบุหรี่ นโยบายช่วยเลิกบุหรี่ระดับจังหวัดและระดับหน่วยงาน การได้รับปัจจัยเสริมแรง โดยความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่เป็นปัจจัยทํานายสําาคัญที่สุดต่อการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ 2As สม่ําเสมอของทันตแพทย์ ดังนั้น การจัดทําแนวทางให้บริการเลิกบุหรี่ครบ 2 ขั้นตอน รวมการส่งต่อ จึงควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของทันตแพทย์