Optimizing commingle production strategy using integrated production model
แหล่งไฮโดรคาร์บอนใต้พื้นผิวซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและปริมาณที่จำกัดนั้น จะถูกนำออกมาสู้พื่นผิวเบื้องบนในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เสมอ ในหลายต่อหลายครั้ง กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตที่ได้กระทำไปนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทำการผลิต และไม่มีโอกาสที่จะได้ทำการตรวจสอบถึงกลยุทธ์การเปิดชั...
Saved in:
主要作者: | |
---|---|
其他作者: | |
格式: | Theses and Dissertations |
語言: | English |
出版: |
Chulalongkorn University
2006
|
主題: | |
在線閱讀: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:49464 |
標簽: |
添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
|
機構: | Chulalongkorn University |
語言: | English |
總結: | แหล่งไฮโดรคาร์บอนใต้พื้นผิวซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและปริมาณที่จำกัดนั้น จะถูกนำออกมาสู้พื่นผิวเบื้องบนในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เสมอ ในหลายต่อหลายครั้ง กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตที่ได้กระทำไปนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทำการผลิต และไม่มีโอกาสที่จะได้ทำการตรวจสอบถึงกลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตอื่นๆ ซึ่งอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การใช้แบบจำลองการผลิตจึงเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นไปได้ในการวิเคราะห์ผลของกลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การได้ปริมาณไฮโดรคาร์บอนมากที่สุด งานวิจัยจึงเริ่มด้วยการสร้างแบบจำลองเพื่อใช้ในการหาค่าเสมือนจริงของรูปแบบค่าการผลิตของแต่ละหลุม เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตทั้ง 6 วิธี จะถูกนำมาใช้กับทุกๆหลุมผลิต เพื่อทำการวิเคราะห์หาผลลัพท์ที่อาจแตกต่างออกไป กลยุทธ์ที่ส่งผลให้ได้การผลิตไฮโดรคาร์บอนในปริมาณมากที่สุดของทุกหลุมผลิต จะถูกนำมาพิจารณาด้วยความสำคัญสูงสุดสำหรับภายในสภาวะแวดล้อมที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ผลของงานวิจัยสามารถบ่งชี้ได้ว่า ไม่มีกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งที่แน่ชัดที่สามารถทำการผลิตน้ำมันได้ในปริมาณที่มากที่สุด เมื่อมองในแง่ของการผลิตน้ำและแก๊สแล้ว พบว่ากลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีการปิดหลุมบางส่วน ให้ผลการผลิตน้ำที่น้อยที่สุด และกลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตจากล่างขึ้นบนทีละชั้น ให้การผลิตแก๊สในปริมาณมากที่สุด เมื่อมองในแง่ของการได้มาของปริมาณเทียบเท่าน้ำมันดิบพบว่า กลยุทธ์การเปิดชั้นการผลิตจากล่างขึ้นบนทีละชั้นให้การผลิตในปริมาณมากที่สุด |
---|