Genetic diversity of fagaceae at Khun Mae Kuong forest, Chiang Mai province

พรรณไม้วงศ์ก่อทางภาคเหนือของประเทศไทยประกอบไปด้วยสกุลหลัก 3 สกุล ได้แก่ Castanopsis, Lithocarpus และ Quercus ซึ่งแต่ละสกุลมีความหลากหลายของชนิดสูง การศึกษานี้ได้เลือกพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยพื้นที่ศึกษามีขนาด 550 ตารางกิโลเมตร โดยเลือกสภาพป่าที่แตกต่างกันคือ ป่าดิบเขาซ...

全面介紹

Saved in:
書目詳細資料
主要作者: Ploenpit Chokchaichamnankit
格式: Theses and Dissertations
語言:English
出版: Chulalongkorn University 2005
主題:
在線閱讀:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:39008
標簽: 添加標簽
沒有標簽, 成為第一個標記此記錄!
機構: Chulalongkorn University
語言: English
實物特徵
總結:พรรณไม้วงศ์ก่อทางภาคเหนือของประเทศไทยประกอบไปด้วยสกุลหลัก 3 สกุล ได้แก่ Castanopsis, Lithocarpus และ Quercus ซึ่งแต่ละสกุลมีความหลากหลายของชนิดสูง การศึกษานี้ได้เลือกพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยพื้นที่ศึกษามีขนาด 550 ตารางกิโลเมตร โดยเลือกสภาพป่าที่แตกต่างกันคือ ป่าดิบเขาซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1000-1800 เมตร และป่าผลัดใบซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 800 เมตร ทำการเก็บตัวอย่างไม้วงศ์ก่อจำนวน 146 ต้น โดยเก็บตัวอย่างใบ ดอก และผลเพื่อใช้ในการจัดจำแนกชนิด เก็บตัวอย่างใบอ่อน เพื่อใช้ศึกษาดีเอ็นเอ และตัวอย่างตาใบรวมทั้งตาดอก และรากเพื่อศึกษาโครโมโซม จากการศึกษาอนุกรมวิธานโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจัดจำแนกชนิดของไม้วงศ์ก่อได้ทั้งสิ้น 30 ชนิด โดย จำนวน 12 ชนิดอยู่ในสกุล Castanopsis จำนวน 7 ชนิดอยู่ในสกุล Lithocarpus และจำนวน 11 ชนิดอยู่ในสกุล Quercus ซึ่งไม้วงศ์ก่อสกุล Castanopsis จะพบมากในพื้นที่ป่าดิบเขา และไม้วงศ์ก่อสุกล Quercus จะพบมากในป่าผลัดใบ ส่วนไม้วงศ์ก่อสกุล Lithocarpus นั้นจะพบในทุกสภาพป่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดด้วยวิธี restriction fragment length polymorphism (RFLP) และ inter simple sequence repeats (ISSR) นั้น พบว่าไม้วงศ์ก่อส่วนใหญ่ถูกจัดจำแนกกลุ่มตามสกุล ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธาน โดยไม้วงศ์ก่อสกุล Castanopsis มีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง ในขณะที่ไม้วงศ์ก่อสกุล Quercus มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกันมาก ส่วนไม้วงศ์ก่อสกุล Lithocarpus นั้นมีรูปแบบความหลากหลายทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการถ่ายทอดยืนระหว่างสกุล Lithocarpus และสกุล Canstanosis และมีการถ่ายทอดยีนระหว่างสกุล Lithocarpus และสกุล Quercus ซึ่งการถ่ายทอดยีนทั้งสองแบบนี้น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดรูปแบบความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้วงศ์ก่อสกุล Lithocarpus ในพื้นที่นี้ นอกจากนี้ได้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้วงศ์ก่อด้วยโครโมโซม และจีโนม จากคาริโอไทป์ และด้วยวิธี fluorescence in situ hybridization (FISH) โดยใช้ 18S-25S และ 5S ribosomal gene ทำแผนที่ยีนบนโครโมโซม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าไม้วงศ์ก่อเกือบทุกชนิดมีจำนวนโดรโมโซมเป็นดิพพลอยด์ (2n = 24) และมีรูปแบบคาริโอไทป์ใกล้เคียงกันมาก รวมทั้งมีตำแหน่งของ ribosomal gene บนโครโมโซมที่คล้ายคลึงกัน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าไม้ก่อบางต้นแสดงความเป็น aneuploidy และ polyploidy และผลจาก FISH แสดงให้เห็นว่าไม้ก่อบางต้นเป็นลูกผสม ผลจากการศึกษาความหลากหลายของไม้วงศ์ก่อด้วยวิธีทางด้านเซลล์พันธุศาสตร์นี้ให้ผลสอดคล้องกับการศึกษาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและการศึกษาด้านอนุกรมวิธาน