Formation of sand dune at Ao Bang Berd, Tambon Pakkhlong, Amphoe Pathio, Changwat Chumphon

สันทรายบางเบิดทอดตัวเป็นแนวยาวขนานกับแนวหาด โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 20 เมตร ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานและลักษณะตะกอนวิทยาของสันทราย เพื่ออธิบายการเกิดของสันทรายในบริเวณนี้ ผลจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ พบว่า สันทรายในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปพาราโบล่า...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Weeraya Lertnok
Other Authors: Montri Choowong
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2009
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38298
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:สันทรายบางเบิดทอดตัวเป็นแนวยาวขนานกับแนวหาด โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 20 เมตร ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานและลักษณะตะกอนวิทยาของสันทราย เพื่ออธิบายการเกิดของสันทรายในบริเวณนี้ ผลจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ พบว่า สันทรายในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปพาราโบล่า (parabola dune) และสันเนินทรายแนวโค้ง (transverse dune) พบสันทรายรูปดาว (star dune) บ้างเล็กน้อย รูปทรงของสันทรายสามารถบ่งชี้ทิศทางลมว่า ส่วนใหญ่พัดจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก เม็ดทรายที่ก่อตัวเป็นสันทรายมีขนาดละเอียดถึงปานกลาง พบโครงสร้างขนาดเล็กในชั้นตะกอนบ้าง เมื่อตัดหน้าตัดของสันทรายเพื่อศึกษาลักษณะทางตะกอนวิทยา แต่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจด้วยเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาห์ (Ground penetrating radar, GPR) พบลักษณะของโครงสร้างของตะกอนที่แสดงขอบเขตการสะสมตัว ของสันทรายที่ปิดทับอยู่บนการสะสมตัวของแนวชายหาด ผลจากการสำรวจ GPR สามารถแบ่งสภาพแวดล้อมในการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณนี้ได้ เป็นการสะสมตัวของสันทราย (การสะสมตัวของสันทรายชายหาด (D1) และการสะสมตัวของสันทรายบริเวณกว้าง (D2)) การสะสมตัวโดยทะเล (การพอกสะสมตัว (B1) และการสะสมตัวโดยทะเลบริเวณชายหาด (B2)) และลักษณะของคลองที่ตัดเข้ามาชั้นตะกอนที่สะสมตัวโดยทะเล จากลักษณะของโครงสร้างที่พบและลักษณะของสันทราย บ่งชี้ว่าทิศทางในการพัดพาของลมมีทิศทางหลัก พัดพาจากทางด้านตะวันออกมาสะสมตัวทางด้านตะวันตกของพื้นที่ ซึ่งผลจากการสำรวจ GPR นับว่าสัมพันธ์กับลักษณะสัณฐานของสันทราย และผลจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ จากลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา ธรณีวิทยาและลักษณะของตะกอนทรายของสันทราย บ่งชี้ว่าตะกอนทรายที่มาสะสมตัวเป็นสันทรายในบริเวณนี้ น่าจะมาจากหินตะกอนที่พบเป็นพื้นที่สูงทางด้านตะวันตกและทางทิศเหนือของพื้นที่ ผลจากระดับน้ำทะเลที่รุกล้ำขึ้นมาในช่วงต้นของยุคโฮโลซีน ทำให้หินผุพังได้ง่ายและมีการพัดพามาสะสมตัวเป็นตะกอนน้ำพาจมตัวในทะเลตลอดแนวชายฝั่ง หลังจากนั้นตะกอนน้ำพาที่จมตัวจึงถูกพัดพาขึ้นมาสะสมตัวเป็นสันทราย ในช่วงตอนกลางของยุคโฮโลซีนที่มีสภาพแวดล้อมอากาศแห้งแล้ง จากผลการหาอายุด้วยวิธี OSL พบว่าการสะสมตัวของสันทรายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงปลายของยุคโฮโลซีน