Factors and their relationships affecting land use change during 1988-2007 and predicting future land use by clue-s model in Huai Thap Salao watershed, Changwat Uthai Thani
การศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 ในบริเวณลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูล 3 ประเภทประกอบด้วย ข้อมูลที่จัดทำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม และข้อมูลจากการวิเคร...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2011
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37846 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | การศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 ในบริเวณลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูล 3 ประเภทประกอบด้วย ข้อมูลที่จัดทำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม และข้อมูลจากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้การศึกษาวิจัยยังได้คาดคะเนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตโดยใช้แบบจำลองคลู-เอส เพื่อจำลองรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจจะเกิดขึ้น และสังเคราะห์คาดคะเนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวแต่ละช่วงเวลาตามลำดับ การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำห้วยทับเสลาระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 ได้จากการแปลความหมายโดยกระบวนการโทรสัมผัสและการออกภาคสนาม จากนั้นนำผลที่ได้มาจัดทำและแสดงผลเป็นแผนที่ ผลการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่ป่ามีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำห้วยทับเสลา (ห้วยระบำ) และบริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำห้วยทับเสลาซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ห้วยทับเสลา และห้วยรัง) การวิเคราะห์ปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระดับความสูงของภูมิประเทศ ความลาดชัน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ระยะห่างจากลำน้ำ ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน และลักษณะเนื้อดิน มาทำการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากปัจจัยระยะห่างจากถนนและปัจจัยระยะห่างจากชุมชนเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การคาดคะเนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตโดยใช้แบบจำลองคลู-เอส ได้จำลอง 2 ภาพเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ.2570 คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตโดยไม่มีการกำหนดขอบเขตอนุรักษ์ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตโดยมีการกำหนดขอบเขตอนุรักษ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพเหตุการณ์ที่ 1 พบว่าพื้นที่ป่าไม้ได้ลดจำนวนลงเป็นอย่างมากเหลือเพียงร้อยละ 63 ของพื้นที่ทั้งหมด (จากร้อยละ 68 ในปี 2550) พบการเปลี่ยนแปลงบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำทับเสลา ขณะที่ภาพเหตุการณ์ที่ 2 พบการเพิ่มขึ้นของรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินชุมชนและสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบๆ ตัวอำเภอเมืองลานสัก และบริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำห้วยทับเสลา ข้อมูลและผลวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลเชิงพื้นที่ไปใช้สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการกำกับ ติดตามและควบคุมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลามีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมที่มีเป้าหมายในเชิงพื้นที่ที่ชัดเจนในการดำเนินการที่ดีขึ้นในอนาคต |
---|