History of sea-level change of pak nam chumphon area, Amphoe Muang, Changwat Chumphon

การศึกษาธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลในบริเวณปากน้ำชุมพรในวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประวัติของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล แผนที่ธรณีสัณฐานชายฝั่งได้จากการแปลความหมายจากภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักซึ่งสามารถจำแนกชนิดของธรณีสัณฐานชายฝั่งออกได้เป็น 7 หน่วย ได้แก่ หาดทรายเก่า ลากูนเก่า ชายหาดปัจจุบัน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Parisa Nimnate
Other Authors: Montri Choowong
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2012
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:37631
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:การศึกษาธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลในบริเวณปากน้ำชุมพรในวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประวัติของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล แผนที่ธรณีสัณฐานชายฝั่งได้จากการแปลความหมายจากภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักซึ่งสามารถจำแนกชนิดของธรณีสัณฐานชายฝั่งออกได้เป็น 7 หน่วย ได้แก่ หาดทรายเก่า ลากูนเก่า ชายหาดปัจจุบัน ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงเก่า ที่สูงและภูเขา ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงบริเวณระหว่างระดับน้ำขึ้นสูงสุดกับน้ำลงต่ำสุดและที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง ในการศึกษานี้ได้นำตะกอนจากหาดทรายเก่าไปหาอายุด้วยวิธีเรืองแสงด้วยความร้อนเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีต หาดทรายเก่าสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก่ แนวหาดทรายด้านใน แนวหาดทรายกลาง และแนวหาดทรายด้านนอก ซึ่งมีทิศทางการวางตัวเกือบขนานกับแนวชายฝั่งทะเลปัจจุบัน ทิศทางกระแสน้ำชายฝั่งในอดีตสามารถคาดการณ์ได้จากทิศทางการสะสมตัวของหาดทราย แนวหาดทรายด้านในมีการสะสมตัวของตะกอนไปทางทิศเหนือส่วนแนวหาดทรายกลาง และแนวหาดทรายด้านนอกมีทิศทางการสะสมตัวไปทางใต้ ขนาดตะกอนของหาดทรายเก่าที่พบมีขนาดทรายกลางถึงทรายละเอียด ตะกอนในลากูนเก่าพบเป็นขนาดโคลนปนทรายและโคลน บางตำแหน่งพบเศษชั้นส่วนของพีต หาดทรายเก่าด้านในมีองค์ประกอบเป็นเฟลด์สปาร์และเฟอร์โรแมกนีเซียนมากกว่าแนวหาดทรายกลางและแนวหาดทรายด้านนอก ความกลมมนโดยเฉลี่ยของตะกอนแนวหาดทรายคือมีความกลมมนน้อยมีความเป็นทรงกลมสูง พบซากดึกดำบรรพ์ทางทะเลจำพวกเศษเปลือกหอยในหลุมเจาะตัวอย่างบริเวณหาดทรายเก่าซึ่งสามารถบ่งบอกสภาพแวดล้อมในอดีตได้ว่าบริเวณนี้เกิดจากการสะสมตัวบริเวณที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง หรือสะสมตัวในบริเวณป่าชายเลน อายุของหาดทรายเก่าที่พบในพื้นที่จากการกำหนดอายุโดยวิธีการเรืองแสงความร้อนแสดงถึงประวัติการเกิดธรณีสัณฐานชายฝั่งว่าอยู่ตั้งแต่ช่วงตอนปลายสมัยไพลสโตซีนถึงตอนต้นสมัยโฮโลซีน